ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์

จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์

โดย  บุญรักษ์  กาญจนวรวณิชย์  

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ  http://www.mtec.or.th

 


 
      เมื่อชาวสวนกรีดต้นยางพารา ของเหลวสีขาวหรือสีครีมที่ไหลออกมาจากต้นยางนั้นเรียกว่า น้ำยางสด (field latex) น้ำยางจัดเป็นสารแขวนลอย เพราะมีอนุภาคยางแขวนลอยปนอยู่ ซึ่งหากตั้งน้ำยางทิ้งไว้นานพอ น้ำยางและน้ำจะเกิดการแยกชั้นออกจากกัน 
      องค์ประกอบส่วนใหญ่ของน้ำยางสดคือ น้ำ ซึ่งมีประมาณ 50-80 เปอร์เซ็นต์ และมีเนื้อยางเพียง 20-45 เปอร์เซ็นต์ ทำให้น้ำยางสดไม่เหมาะจะนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และไม่นิยมขนส่งน้ำยางในรูปน้ำยางสด เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าขนส่ง โดยทั่วไปน้ำยางสดจะถูกนำไปผ่านกระบวนการปั่นเหวี่ยงให้ได้น้ำยางข้นที่มี เนื้อยางประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ก่อนจะนำไปใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ หรือขนส่ง


องค์ประกอบน้ำยางธรรมชาติ

ปริมาณ (% โดยน้ำหนัก)

เนื้อยาง

20-45

น้ำ

50-75

โปรตีน

1.0-1.5

เรซิน

1.0-2.5

น้ำตาล

1.0

สารอนินทรีย์

0.5

        โดยทั่วไปน้ำยางสดที่ออกมาจากต้นยางจะคงสภาพความเป็นน้ำยางได้ไม่เกิน 3-6 ชั่วโมง เนื่องจากแบคทีเรียในอากาศ และจากเปลือกของต้นยางจะลงไปในน้ำยาง และกินสารอาหารที่อยู่ในน้ำยาง เช่น โปรตีน น้ำตาล เป็นต้น ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากการย่อยของแบคทีเรียคือ ก๊าซชนิดต่าง ๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน และกรดไขมันระเหยได้ (volatile fatty acid) เมื่อปริมาณกรดที่ระเหยง่ายในน้ำยางเพิ่มมากขึ้น น้ำยางจะเกิดการสูญเสียสภาพ สังเกตได้จากการที่น้ำยางจะค่อยๆ มีความหนืดมากขึ้น เพราะอนุภาคยางเริ่มจับตัวเป็นเม็ดเล็กๆ และค่อยขยายเป็นก้อนใหญ่ขึ้น จนน้ำยางสูญเสียสภาพ เกิดการบูดเน่า และมีกลิ่นเหม็น ซึ่งอัตราการเกิดกระบวนการทั้งหมดจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุณหภูมิ สภาพแวดล้อม ความคงตัวของน้ำยาง พันธุ์ยาง ฯลฯ 

 

      เพื่อป้องกันการสูญเสียสภาพของน้ำยางสด จึงต้องเติมสารเคมีบางชนิดลงไปเพื่อเก็บรักษาน้ำยางให้คงสภาพเป็นของเหลว ซึ่งสารเคมีที่ใช้ในการเก็บรักษาน้ำยางเรียกว่า สารรักษาสภาพน้ำยาง (preservative) เช่น แอมโมเนีย (ammonia) โซเดียมซัลไฟด์ (sodium sulfite) ฟอร์มัลดีไฮด์ (formaldehyde) เป็นต้น โดยบทความนี้ขอกล่าวถึงการใช้แอมโมเนียเพียงชนิดเดียว เนื่องจากเป็นสารเคมีที่นิยมใช้ และเป็นสารเคมีใกล้ตัว

      แอมโมเนีย (NH3) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสภาพน้ำยาง และนิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยทั่วไปการใช้แอมโมเนียเพื่อรักษาสภาพน้ำยางสดจะใช้ในปริมาณ 0.3-0.8 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของน้ำยางสด ปริมาณการใช้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเก็บรักษา และสภาพน้ำยางสด ณ ขณะนั้น 
      จุดเด่น ของการใช้แอมโมเนียมีหลายข้อ ดังนี้
1.แอมโมเนียมีสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
2.แอมโมเนียมีสมบัติเป็นด่าง จึงช่วยเสริมสถานะแขวนลอยให้น้ำยาง
3.แอมโมเนียไม่ทำให้เกิดสีในน้ำยางธรรมชาติ
      จุดด้อย ของการใช้แอมโมเนีย คือ
1.แอมโมเนียเป็นสารระเหยง่าย (จุดเดือดสารประมาณ -33 องศาเซลเซียส) และมีกลิ่นฉุนรุนแรง เมื่อสารระเหยสู่บรรยากาศ นอกจากจะทำให้เกิดมลภาวะทางกลิ่นในสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังส่งผลโดยตรงต่อน้ำยางสดที่อยู่ระหว่างการเก็บรักษา เพราะแอมโมเนียระเหยง่าย ทำให้ปริมาณแอมโมเนียมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ส่งผลให้น้ำยางมีสมบัติไม่คงที่
2.แอมโมเนียเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียไม่สูงนัก จึงต้องใช้เป็นปริมาณมาก เพื่อให้สามารถยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียได้สมบูรณ์
3.แอมโมเนียมีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อไอแอมโมเนียที่ระเหยออกจากน้ำยางลอยไปสัมผัสกับโลหะ หรือเมื่อน้ำยางที่รักษาสภาพโดยแอมโมเนียสัมผัสกับโลหะ

      จากจุดด้อยต่างๆ ของแอมโมเนีย ทำให้มีการพัฒนาสารเคมีชนิดต่างๆ ขึ้นมาเพื่อใช้แทน หรือใช้ร่วมกับแอมโมเนีย เพื่อลดผลกระทบจากจุดด้อยของแอมโมเนีย ซึ่งสารเคมีชนิดอื่นที่นิยมใช้ร่วมกับแอมโมเนียในการรักษาสภาพน้ำยางสดคือ สารเตตระเมทิลไทอูแรมไดซัลไฟด์หรือทีเอ็มทีดี (tetramethylthiuram disulphide, TMTD) กับซิงค์ออกไซด์ (zinc oxide) การนำสารเคมีทั้งสองชนิดมาใช้ ทำให้สามารถลดปริมาณการใช้แอมโมเนียลงเหลือร้อยละ 0.2-0.5 โดยน้ำหนักได้
      อย่างไรก็ดีสารเคมีรักษาสภาพชนิดอื่นที่นิยมใช้ร่วมกับแอมโมเนียก็มีจุดด้อย เช่นกัน อย่างสารซิงค์ออกไซด์จะทำลายเสถียรภาพของน้ำยาง ทำให้อนุภาคยางจับตัวกันง่ายขึ้น ขณะที่การใช้สารทีเอ็มทีดีจะทำให้เกิดสารไนโตรโซเอมีน (nitrosoamine) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และทำให้เกิดสีในเนื้อยาง ด้วยเหตุนี้ทำให้มีการวิจัย และพัฒนาเพื่อหาสารช่วยรักษาสภาพน้ำยางชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก เสมอมา

สู่นวัตกรรมใหม่เพื่อแก้ปัญหา
      ดร. สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ ห้องปฏิบัติการยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้สารเคมีเพื่อรักษาสภาพน้ำยางสดนี้เป็น อย่างดี จึงดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาสารรักษาสภาพยางชนิดใหม่ และประสบความสำเร็จในการพัฒนาสารรักษาสภาพน้ำยางชื่อ สาร TAPP ซึ่งเป็นระบบรักษาสภาพน้ำยางสดในสภาพที่เป็นกลางหรือเบสอ่อน โดยจากการทดสอบประสิทธิภาพพบว่า เมื่อเติมสาร TAPP ปริมาณมากกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก สามารถรักษาสภาพน้ำยางได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน ซึ่งเทียบได้กับน้ำยางที่เติมแอมโมเนียปริมาณ 0.7 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักลงไป
      จุดเด่นของการใช้สาร TAPP คือ ความไม่เป็นพิษต่อเซลล์มนุษย์ ซึ่งต่างจากแอมโมเนีย ทั้งนี้จากการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า เซลล์ที่ทำการทดสอบยังสามารถเติบโตได้ โดยผลการทดสอบเมื่อใช้สาร TAPP เปรียบเทียบกับการใช้แอมโมเนียในน้ำยางในด้านต่างๆ แสดงในตารางข้างล่าง

 

หมายเหตุ
HA (high ammonia) – ระบบแอมโมเนียสูง เป็นการรักษาสภาพน้ำยางด้วยการเติมสารแอมโมเนียลงไปน้ำยางอย่างน้อย 0.6 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก
LATZ (low ammonia – TMTD – zinc oxide) – ระบบแอมโมเนียต่ำ เป็นการักษาสภาพน้ำยางด้วยการใช้สารแอมโมเนียประมาณ 0.2-0.3 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักร่วมกับสารทีเอ็มทีดี และซิงค์ออกไซด์


Body Paint: ผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้
      ด้วยเหตุที่สาร TAPP ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ และไม่มีกลิ่นฉุนเหมือนแอมโมเนีย จึงทำให้งานวิจัยถูกนำมาประยุกต์ด้วยการเติมสีผสมอาหารเพื่อทำเป็นสีน้ำยาง ใข้ทาร่างกายได้แบบเดียวกับสีบอดี้เพนท์ โดยไม่ก่อความระคายเคืองกับผิวหนัง และไม่มีกลิ่นฉุน นอกจากนี้สีน้ำยางที่กลุ่มวิจัยทดลองทำขึ้นมีสมบัติกันน้ำ เกาะติดผิวหนังได้ทนทานดี และสามารถลอกออกได้ง่าย ซึ่งหลายคนคงมีโอกาสทดลองใช้ผลพลอยได้ของงานวิจัยชิ้นนี้แล้วในงานมหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2551 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การประชุมไบเทค บางนา 

   

การทาสีน้ำยางบนกระเป๋าผ้า (ซ้าย) การใช้สีน้ำยางเป็นสีบอดี้เพ้นท์ (ขวา)




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com