ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง

จาก http://www.vcharkarn.com 

ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับพืชมากกว่า 12 ปี โดยมุ่งทำงานในเรื่องสภาวะที่ไม่เหมาะสมในเรื่องการเจริญเติบโตของพืช   ซึ่งเกิดจาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมของโลก   ซึ่งปัจจัยหลักอย่างหนึ่ง คือปัญหาที่เกิดจากสภาวะโลกร้อน ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆมากมาย และ ผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหากับภาคการเกษตรของประเทศคือปัญหาดินเค็มที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว

  “ในช่วงระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา สภาวะบรรยากาศของโลกเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งเกิดจากสภาวะโลกร้อน   มันเป็นการสร้างสมดุลใหม่ของบรรยากาศโลก  หากเรามองในเรื่องการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ

แต่สมดุลใหม่นี้ เป็นภาวะที่รบกวนสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในโลกBiomass หรือ มวลชีวภาพที่อยู่ในโลกนี้  ไปอยู่ในที่ที่ไม่ควรจะอยู่   มวลชีวภาพควรถูกเก็บไว้ในดินและในผืนป่า แต่ในปัจจุบันเกิดขึ้นเพราะกิจกรรมต่างๆของมนุษย์เป็นจำนวนมาก   ..จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ขึ้นสู่บรรยากาศจำนวนมาก .. การที่มนุษย์นำป่าออกมาใช้  นำพืชมาเป็นอาหาร จึงทำให้มวลชีวภาพเกิดการหมัก   ซึ่งจริงๆมันควรจะหมักอยู่ในที่ๆเหมาะสม   ในสภาพป่าซึ่งใช้เชื้อราในการหมัก

 

แต่การหมักแบบขยะ  จะเป็นการหมักแบบใช้แบคทีเรีย  ซึ่งจะทำให้เกิดก๊าซมีเทน ก๊าซมีเทนก็ขึ้นไปทำลายชั้นบรรยากาศของโลกอีกระลอกหนึ่ง   จนถึงการที่ระบบเกษตรในบ้านเรา  มีการทำให้คาร์บอนและก๊าซที่อยู่ในดินลดลงอย่างรวดเร็วอย่างเช่น การเผาป่า การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้คาร์บอนขึ้นสูบรรยากาศได้เร็วขึ้น

 

คาร์บอนไดออกไซต์ มีเทน ก็เข้าไปจับกับชั้นโอโซนที่ทำหน้าที่เสมือนฟิล์มกรองแสงของโลกบางลงแสงก็จะเข้าได้มากขึ้น  ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกหรือสภาวะโลกร้อน   เป็นห่วงโซ่ที่เป็นวัฎจักร    เมื่อภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นเราจะพบว่าเกิดการระเหยของน้ำที่รุนแรง   การที่ผืนป่าในโลกลดลง   น้ำก็จะระเหยขึ้นจากผิวดินโดยตรงอย่างรวดเร็ว    

ในอดีตนับไปหลายล้านปี  แผ่นดินส่วนใหญ่จมอยู่ใต้มหาสมุทร เกลือก็ถูกสะสมไว้ด้วย จึงถูกดันขึ้นมาพร้อมกับน้ำ   ประกอบกับพอโลกร้อนขึ้น   น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ทำให้น้ำใต้ดินยกระดับตัวสูงขึ้น   ซึ่งทำให้ละลายเกลือดันขึ้นสู่ผิวดินมากขึ้น 

ขณะที่ภาวะโลกร้อน   ทำให้การไหลของกระแสน้ำเย็นเปลี่ยนทิศทาง  เพราะมีน้ำเย็นไหลลงมามากขึ้น   กระทบกับกระแสน้ำอุ่นทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทาง   พายุหมุนก็เปลี่ยนจุดตำแหน่งของการเกิด    อย่างเช่นเมื่อก่อนจะไม่ค่อยเห็นการเกิดพายุในพม่า อินเดีย ก็ทำให้เกิดมากขึ้น    น้ำจืดในมหาสมุทรมีมากขึ้น   การเกิดพายุหมุนจะหอบน้ำจำนวนมากขึ้นมา   น้ำทะเลเหล่านั้น ท่วมขึ้นสู่แผ่นดิน   ทำให้มีการแพร่ระบาดของพื้นที่ดินเค็มอย่างรวดเร็ว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการแพร่กระจายของพื้นที่ดินเค็มเป็นจำนวนมาก   ประเทศไทยเองได้รับผลกระทบจากพื้นที่ดินเค็ม  ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงอย่างรวดเร็วซึ่งดร.เฉลิมพล เกิดมณี   เปิดเผยว่าปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ดินเค็มอยู่ราว21 ล้านไร่ ถือว่าเป็นพื้นที่จำนวนมากเลยทีเดียว

 

 
ดร.เฉลิมพล เกิดมณี


“ประเทศไทยมีพื้นที่ดินเค็มอยู่ประมาณ 21 ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายทะเลประมาณ 4 ล้านไร่ และอยู่ในพื้นที่แถบภาคอีสานประมาณ 17 ล้านไร่   เกลือในดินมีทั้งประโยชน์และโทษ

ในแง่ของประโยชน์  เราพบว่า ผลไม้ที่มีรสหวาน จะปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีน้ำทะเลขึ้นมาถึงเช่น ระยอง จันทบุรี ตราด  นครปฐม  นนทบุรี   น้ำในทะเลมีส่วนกระตุ้นให้ภายในเซลพืชสร้างความเข้มข้นขึ้นมา   ทำให้ผลไม้มีรสหวาน   ซึ่งความเค็มมันมีทั้งประโยชน์และโทษ ในแง่ของโทษความเค็มทำให้ผลผลิตทางการเกษตรของประเทศไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ”

จากปัญหาดังกล่าวดร.เฉลิมพล เกิดมณี  จึงสนใจในปัญหาดินเค็มสำหรับภาคการเกษตรเพื่อทำการศึกษา   โดยตั้งเป้าในการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย  ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง  ซึ่งงานวิจัยดังกล่าว ดร.เฉลิมพล เกิดมณี  เลือกที่จะใช้ข้าวเป็นพืชต้นแบบในการศึกษา เพราะเหตุผลที่ว่าข้าวเป็นอาหารหลักและพืชเศรษฐกิจของคนไทย  

นอกจากนี้ ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ยังได้ประเมินความสูญเสียที่เกิดจากภาวะดินเค็มของประเทศ  พบว่าความเค็มก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศปีละประมาณ 2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ซ่อนอยู่ ดังนั้นการแก้ไขภาวะดินเค็มจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนปัญหาหนึ่งในภาคการเกษตรของประเทศ
 

“การผลิตข้าวของโลกประเทศจีนสามารถผลิตได้ประมาณ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่ ญี่ปุ่นก็ 2,000 กิโลกรัมต่อไร่  ในขณะที่ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 400
 อย่างเก่งก็ 700 กิโลกรัมต่อไร่  น้อยกว่าจีนเกือบ 3 เท่าตัว

เหตุที่เป็นแบบนี้  เพราะประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตข้าวกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในภาคอีสาน ในขณะที่ผลผลิตเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงใต้หรืออีสานอยู่ที่ 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ ถึงแม้ภาคกลางจะสามารถผลิตข้าวได้เฉลี่ย 7-800 กิโลกรัมต่อไร่ แต่พอนำมาเฉลี่ยกันก็ทำให้ค่าเฉลี่ยลดลงไป  ทำให้ค่าเฉลี่ยของประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้เพียงปีละประมาณ 400 กิโลกรัมต่อไร่


 
ภาพจากเวปไซท์ http://www.arunsawat.com

 

ผลกระทบที่ทำให้พื้นที่ในภาคอีสาน ทำการผลิตข้าวได้น้อย  

เหตุผลที่สำคัญอย่างที่ 1 คือ  พื้นที่ 1ใน 3 เป็นพื้นที่ที่มีการแพร่กระจายของความเค็ม  คือใต้ดินมีเกลือ

อย่างที่2  เกิดจากความแห้งแล้ง อันนี้เกิดจากสภาวะโลกร้อนที่สืบเนื่องมา อันที่ 3 คือแผ่นดินไทยเป็นแผ่นดินเก่า   คือเป็นแผ่นดินที่ไม่มีภูเขาไฟระเบิด   มันถูกใช้มานาน  ความอุดมสมบูรณ์ของดินก็จะลดต่ำลง ซึ่งทำให้เป็นพื้นที่ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้  แล้งจัด ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ก็เลยทำให้กลายเป็นภาวะเกษตรอับจนยั่งยืน 

เราทำงานในการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่เป็นแหล่งที่แพร่กระจายความเค็ม  อย่างเช่น
ในแหล่งที่ผลิตเกลือสินเธาว์ คือทำนาเกลือในแผ่นดิน แถบพื้นที่อีสานเราก็ไปฟื้นฟูที่บริเวณนั้น  เรามีพื้นที่ต้นแบบที่บอระบือประสบความสำเร็จ ในเนื้อที่ประมาณ 50ไร่ ร่วมกับสถาบันราชพฤกษ์  เราทำงานร่วมกับบริษัทเกลือพิมาย โดยทำการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่เกลือพิมาย   เรากำลังฟื้นฟูพื้นที่บริเวณอำเภอบ้านม่วงและอำเภอบ้านดุงซึ่งเป็นแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์เช่นกัน  ในประเทศไทยเรามีแหล่งผลิตเกลือสินเธาว์ขนาดใหญ่ก็จะมีสามแหล่งนี้แหละซึ่งเราได้เข้าไปศึกษาถึงการตอบสนองของพื้นต่อความเค็มความแล้ง”

 

การศึกษาเกี่ยวกับความเค็มความแล้งของดินสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  คัดพืช   การปลูกในกระถาง ปลูกในไฮโดรโปลิค หรือการปลูกทดสอบในแปลง

แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเกือบ 30 ปีของประเทศไทย  ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาดินเค็มยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าทีควร  เพราะมีความคลาดเคลื่อนของปัจจัยสภาพแวดล้อม  ที่ไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมดในการทดลอง  ส่วนการทดลองของดร.เฉลิมพล  เกิดมณี และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ใช้วิธีการการคัดพันธุ์พืชโดยการควบคุมสภาพแวดล้อม ซึ่งนอกจากการการได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติแล้วงานวิจัยชิ้นนี้ยังได้รับการจดสิทธิบัตรด้วย

 

 
ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

 

“การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาดินเค็มที่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จในประเทศไทยเนื่องจากการทำการวิจัยมักจะไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้  เช่นการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมันจะมีความชื้นในขวดพืชมักจะมีความชื้นสูง พอมีความชื้นสูงทำให้พืชไม่ค่อยตอบสนองต่อความเค็มและความแล้ง  คือยังมีชีวิตอยู่ได้ การคัดพันธุ์ในแปลง ในกระถ่าง ในน้ำ สภาพแวดล้อมก็คุมไม่ได้หลายปัจจัย   ส่วนของเรานี้เราได้พัฒนาระบบการคัดพันธ์พืชโดยการควบคุมสภาพแวดล้อม 

ระบบนี้ช่วยให้เราสามารถทราบว่าพืชต้นไหนทนสภาวะแวดล้อมได้อย่างไรภายใน 3 ชั่วโมง   เราใช้เครื่องมือในการตรวจจับคาร์บอนไดออกไซต์ที่พืชใช้แล้วคายออกมา  จึงทำให้เรารู้การตอบสนองได้  เช่น ถ้าเราออกกำลังกายด้วยการวิ่ง พอหอบเราก็จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา พืชก็เช่นกัน เมื่ออยู่ในภาวะเครียดก็จะมีการใช้คาร์บอนไดออกไซต์มากขึ้น  ตรงนี้ทำให้เราสามารถตรวจจับได้อย่างรวดเร็วว่าพืชต้นใดทนไม่ทน

เราพบว่ามีพืชในกลุ่มตระกุลถั่วซึ่งรวมถึงพืชตระกูลถั่วในพวกไม้ยืนต้นใหญ่ ๆ ด้วย อย่างเช่น นนทรีบ้าน นนทรีป่า พวกราชพฤษ จามจุรี  กลุ่มพืชในพวกสะเดา  
พวกนี้จะทน   แต่พืชที่ทนมากที่สุดคือพวกยูคาลิปตัส และ พวกไม้สน จากข้อมูลที่ไม่มีความชัดเจน   ตอนนี้ก็ชัดเจนแล้วว่าพวกนี้ทน เราได้นำพืชเหล่านี้ไปปลูกในพื้นที่ดินเค็มและจากระยะเวลา 4 ปี  สามารถลดระดับความเค็มจาก 10 เปอร์เซ็นต์เกลือเหลือเพียง 0.8 เปอร์เซ็นเกลือเท่านั้น  ซึ่งสามารถทำการเกษตรตามปรกติได้ 

                  

หลักการก็คือการดึงน้ำจากใต้ดิน เหมือนกับการใช้ปั๊มน้ำ ซึ่งดูดน้ำจากใต้ดินขึ้นสู่อากาศ  พอน้ำลดระดับลง เกลือก็จะละลายไม่ได้   พอมีฝนตกลงมาก็จะทำให้กดเกลือลงไปเก็บใต้ดินอีกครั้งหนึ่ง  ด้วยกลไลนี้ คือการเก็บเกลือเข้าสู่ใต้ดินตามหลักธรรมชาติ  เราทำการฟื้นฟูพื้นที่ต้นแบบจากบอระบือจนมาถึงโคราชที่เกลือพิมายและไปสู่ บ้านดุงบ้านม่วงที่สกลนคร อุดรธานี  ทำให้เราสามารถฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่รกร้างว่างเปล่าได้ 

                  

หลังจากนั้นเราพบว่า  เราจะทำไม่ได้เลยหากไม่มีพันธมิตรที่เป็นเกษตรกรเข้ามา
ร่วมกันฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม  และ เกษตรกรเองก็จะทำงานไม่ได้เลยหากไม่มีรายได้กลับคืน
   งานวิจัยของการหาพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกได้ทั้งดินเค็มดินแล้ง ซึ่งเราได้ทำเป็นงานต้นแบบกับพืชชนิดแรกคือข้าว  การคัดพันธุ์โดยการตรวจจับคาร์บอนไดออกไซต์นี้ได้ถูกนำมาใช้ในการหาพันธุ์ข้าวหอมในเมืองไทย 

 

เราใช้พันธุ์ข้าวหอมของเมืองไทยที่เก็บสะสมไว้กว่า230 กว่าสายพันธ์   พบว่ามีข้าวหอมชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่ออยู่ในลุ่มน้ำปากพนัง  ปากพนังเป็นพื้นที่น้ำทะเลขึ้นมาท่วมถึง  มันอาจจะเป็นการปรับตัวทางธรรมชาติ   ซึ่งเราใช้ข้าวตัวนี้เป็นการศึกษากลไกการทนเค็มภายใน
และใช้ข้าวตัวนี้ ในการพัฒนาพันธุ์ข้าว ขณะนี้เราได้ข้าวหอมมะลิ และ ข้าวปทุมธานี
 ซึ่งมีคุณสมบัติทนเค็มและทนโรคใบไหม้ 


 ขณะนี้พันธ์ข้าวอยู่ระหว่างเพิ่มจำนวนเม็ดพันธ์เพื่อจะนำไปใช้ปลูกทดสอบ ว่าเขาโต
ได้ในพื้นที่ใดในประเทศไทย ตัวพันธุ์ข้าวนี้เราได้ ปลูกบนแปลงตากเกลือของบริษัทเกลือพิมายซึ่งมีความเค็มอยู่ในระดับสัก 1-1.5 เปอร์เซ็นเกลือ  ซึ่งถือเป็นระดับความเค็มตามมาตรฐานของประเทศไทย
 

ข้าวได้ผลผลิตได้ดีกว่าการปลูกข้าวในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีว่าเกษตรกรในเมืองไทยจะมีพันธ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง  ทนเค็มได้ดี สามารถสร้างได้และใช้เป็นพืชที่ใช้ลดความเค็มของดินได้   คือเมื่อเราปลูกข้าว มีระบบน้ำอยู่มีระบบต้นพืชอยู่พืชเหล่านี้จะช่วย ลดความเค็มของดินได้  นี้คือลักษณะงานที่เราทำ”

 

การทำงานของ ดร.เฉลิมพล เกิดมณีและทีมงานเป็นไปในลักษณะของการปรับปรุงพันธ์ไม่ใช่การตัดต่อทางพันธุ์กรรมโดยเน้นการวิจัยไปในทางการปรับปรุงพันธุ์ตามธรรมชาติและเน้นการรักษาคุณสมบัติเด่นของข้าวเอาไว้   แต่เปลี่ยนแปลงลักษณะอย่างอื่น เช่นการ ทำให้ทนเค็ม ทนโรคใบไหม้ ใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อยลงโดยการเปลี่ยนแปลงลักษณะของทรงต้น  ทำให้สามารถสังเคราะห์แสงได้มากขึ้น มีระบบรากที่แข็งแรง

 

 
ห้องปฎิบัติการในศูนย์ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)

 

 “GMO(Genetically Modified Organism) คือการตัดต่อทางพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตโดยไม่ใช่วิธีทางธรรมชาติโดยมนุษย์เป็นผู้ทำ การผสมพันพืชเป็นการโยกย้ายทางพันธุกรรมเหมือนกัน  แต่จะเป็นไปในรูปแบบของกระบวนการทางธรรมชาติ  แต่ GMO โยกย้ายข้ามเผ่าพันธุ์ได้  เราใช้วิธีการปรับปรุงพันธุ์ตามแต่โบราณ เราใช้วิธีพวกนี้เป็นตัวย้ายพันธุกรรม 

                  

เราดูการแสดงออกทางพันธุกรรมจึงสามารถทำให้เราทำงานได้ไว  ไม่ต้องไปปลูกในแปลง ก็สามารถรู้ว่านิสัยใจคอของพืชนั้นเป็นอย่างไร   ในสภาวะแวดล้อมที่มีการควบคุม  ถ้าไม่ให้น้ำข้าว  ข้าวก็ย่อมเหี่ยว ถ้าปลูกในแปลงต้องรอดูฝน มันช้ากว่าต้นข้าวจะโต ในระดับทดลองต้นข้าวสูงแค่ 1 นิ้ว  เราก็รู้แล้ว และมีผลใกล้เคียงกับทางธรรมชาติ เราใช้เครื่องหมาย DNA ถ้าเครื่องหมายใดแสดงว่าทนโรคได้  ในพันธุ์พืชใดมีเครื่องหมายทางพันธุกรรมอันนั้นก็แสดงว่ามันมีแนวโน้มที่จะทนได้ด้วย 


สำหรับพันธุ์ข้าวจากลุ่มน้ำปากพนัง  เราได้ข้าวนี้มาจากหมู่บ้านหนึ่งซึ่งเขาปลูกไว้กินเอง  ไม่ใช่ข้าวเศรษฐกิจ  ก็ใช้ตัวนี้มาพัฒนาโดยนำมาผสมกับข้าวเศรษฐกิจแล้วใช้วิธีการทางไบโอเทคในการปรับปรุงพันธุ์อย่างรวดเร็วแต่ไม่ใช่วิธีการตัดต่อยีนส์นะครับ ข้าวตัวนี้ทนเค็ม 1.5 เปอร์เซ็นเกลือถือว่าทนเค็มมากที่สุดในโลกก็ได้  เพราะว่างานอันนี้เองเมื่อ 4 ปี ที่แล้ว นิตยสารไทม์ ที่ฮ่องกงเอาไปลงแล้ว  มีการบันทึกว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่ทนเค็มที่สุดในโลก”

ปัจจุบันงานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการทดลองปลูกอยู่ในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่ จะมีแผนจะขยายต่อไปในปีหน้า  เป็นจำนวน 4,000 ไร่  ซึ่ง ดร.เฉลิมพล เกิดมณี คาดการณ์ว่า เกษตรกรสามารถใช้ไปในใช้งานได้จริงในเรื่องของพันธ์ข้าวอีกประมาณ 2 ปี  ส่วนเรื่องการแก้ปัญหาดินเค็มจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง 

ดังนั้นต้องถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทำให้พื้นที่การเกษตรของไทยกลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียวอีกครั้ง   และนั้นหมายถึง ความเป็นอยู่ที่อุดมสมบูรณ์ขึ้น สมกับคำกล่าวที่ว่าในน้ำมีปลาในนามีข้าว และนั้นย่อมหมายถึง ภาคการเกษตรที่แข็งแกร่งขึ้นของประเทศไทย

 

“สำหรับงานวิจัยชิ้นนี้ถือว่าได้ผลเกินความคาดหมาย คือ ทำในสิ่งที่ประเทศไทยพยามทำกันมา 30 ปี  แล้วยังทำไม่ได้  ได้ฟื้นฟูพื้นที่ที่ทำการเกษตรไม่ได้  ให้สามารถกลับมาใช้ในการเพาะปลูกได้   นี้ถือว่าเป็นความใหม่และยิ่งใหญ่  อย่างที่สองทำพันธุ์พืชที่ไม่ทนเค็ม เช่นข้าวที่ไม่ทนเค็มให้กลายเป็นข้าวที่ทนเค็มได้   และยังให้ผลผลิตที่สูงกว่าการปลูกในพื้นที่ไม่เค็มอีก

เทคโนโลยีชุดเดียวกันนี้ได้ถูกนำไปถ่ายทอดให้แก่ภาคเอกชนเช่น มิตรผลวิจัย ใช้เทคโนโลยีทนเค็ม  ไปพัฒนาพันธุ์อ้อยของเขา  เทคโนโลยีชุดเดียวกันนี้กำลังถ่ายทอดให้กับบริษัทที่ผลิตต้นกล้ายูคาลิปตัส   และขณะเดียวกัน ลงสู่ระบบรากหญ้าใช้ทำงานกับตัวเกษตรกรจริงๆ ขณะนี้ทำอยู่ที่ 100 ไร่ และปีหน้าจะทำที่ 4,000ไร่   ก็ต้องบอกว่าเป็นงานจากเทคโนโลยีบริสุทธ์ที่เข้าใจการเรียนรู้มาสู่การปรับแต่ง   มาสู่การประยุกต์ใช้   สู่ภาคอุตสาหกรรม และมาสู่การปรับใช้กับเกษตรกรระดับรากหญ้าได้



เมื่อขยายพื้นที่เป็น 4,000ไร่ ก็จะกลายเป็นพื้นที่ป่าสู่ป่าขึ้นมา จะช่วยลดภาวะโลกร้อนลงได้    ส่วนที่ สอง เมื่อมีป่า ป่าก็จะดึงฝนกลับมาให้ เดิมอีสานมีภาวะอย่างนี้ครับ  ประเทศไทยนะมีน้ำไม่ได้ขาด   แต่ปัญหาจะเป็นเรื่องของการจัดการน้ำ  ฝนไม่ตกตรงจุดที่ควรจะตกไม่อุ้มน้ำในที่ที่ควรจะอุ้มน้ำ 

หลักการของเราก็คือว่า ไปปลูกพืชยืนต้นบนเส้นทางที่ฝนผ่าน เมฆฝนจะเกิดในทะเลจีนใต้เข้าเข้าสู่อีสานเหนือ แต่ป่ามีไม่เยอะ การเกิดก้อนเมฆ เพื่อทำให้เกิดเป็นเมฆหนักยาก ก็ทำให้เมฆเบาบางเหล่านี้   บินข้ามาเข้าสู่แถวเพชรบูรณ์ กำแพงเพชร   แถวนั้นมีป่า ก็จะเกิดเป็นฝนตกบริเวณนั้น   น้ำก็ท่วมภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน   น้ำก็ท่วมอยู่ทุกปี

วิธีการระดับมหภาคก็คือ การปลูกป่า ในเส้นทางฝนผ่าน   ทำการเก็บเมฆได้คือพื้นที่ป่าสีเขียวขนาดใหญ่  บนเส้นทางที่ฝนวิ่งมาจากทะเลจีนใต้   เพื่อให้ฝนตกในบริเวณภาคอีสาน ซึ่งเป็นบริเวณต้นน้ำ    เมื่อฝนตกก็จะทำให้มีเมฆที่เบาบางกระจายสู่ภาคเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบน    สภาวการณ์เกิดน้ำท่วมก็จะลดลง  ซึ่งมันสามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน คาร์บอนไดออกไซต์ถูกเก็บไว้ในต้นพืช  พอมีพื้นที่ป่ากระกระจายตัวของเกลือก็จะลดลง   ภาวะสมดุลย์ของโลกก็จะย้อนกลับไปสู่อดีตได้  อันนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง

อีกอย่างหนึ่งคือคนต้องใช้ทรัพยกรอย่างประหยัด  ซึ่งทุกสิ่งที่เราใช้ไปนี้  เป็นส่วนกระตุ้นให้ภาวะโลกร้อนเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก   ปัจจุบันนี้น่าเป็นห่วงเพราะว่ามนุษย์กำลังกลับไปมองปัญหาเฉพาะหน้าคือเรื่องพลังงาน   เรื่องภาวะโลกร้อนนี้เข้ามาสักประมาณ 2 ปี   พอภาวะพลังงานมาก็ซักซีเรียสจัด   คนก็เลิกสนใจเรื่องโลกร้อน  

แต่ถ้าดูกันจริงๆแล้วนี้เรื่องโลกร้อนกับภาวะพลังงานนี้เป็นเรื่องเดียวกัน  เช่น โลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางของลม ปัจจุบันเราได้พลังงานสะอาดจากลมเข้ามา  หรือการปลูกปาล์มน้ำมัน อ้อย พวกนี้ช่วยให้เก็บคาร์บอนเข้าสู่ต้นพืช  เข้าสู่ดิน ก็จะช่วยรื่องโลกร้อนได้เช่นกัน ”

งานวิจัยชิ้นนี้ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรของประเทศไทย  ดังนั้นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนจึงต้องอาศัยการร่วมมือกันทุกภาคส่วน  สำหรับการคืนพื้นที่สีเขียวให้แก่ประเทศไทย  โดยเฉพาะเกษตกรในพื้นที่ ซึ่งเปรียบเหมือนต้นธารแห่งการฟื้นฟู ดังนั้น ดร.เฉลิมพล เกิดมณีและศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) จึงเชิญชวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการดังกล่าว

 

“เราทราบดีกว่าเกษตรกรมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเราคงต้องการการร่วมมือจากภาคเกษตรกรด้วย   เราต้องสร้างเกษตรกรให้มีความแข็งแกร่งขึ้น   เราจึงเชิญชวนเกษตรกรรุ่นใหม่  ที่มองเรื่องสภาวะแวดล้อมและสังคมด้วย

เราชวนบริษัทเกลือพิมาย มูลนิธิเครือซิเมนตไทย ได้เข้ามาร่วมกับเราในการเร่งนำเทคโนโลยีกระจายสู่การใช้งาน   ในขณะนี้เราได้เริ่มทำในพื้นที่ต้นแบบประมาณ 100 ไร่ 
ในพื้นที่ จังหวัด สกลนคร อุดรธานี และในปีหน้า เราจะขยายพื้นที่เป็น 4,000ไร่  และเราเองอยากจะประกาศหา อบต. กลุ่มอบต. ที่อยู่บนพื้นที่ดินเค็มและอยากจะฟื้นฟูทำการเกษตรบนพื้นที่ดินเค็ม มาเป็นพันธมิตรทำงานร่วมกับเรา ในชุดโครงการ 4,000 ไร่ เพื่อคืนพื้นที่สีเขียวให้แก่แผ่นดินไทย 

ซึ่งเราต้องอาศัยพืชสองกลุ่มใหญ่ คือข้าว กับพวกไม้ยืนต้น  ซึ่งให้ตอบตอบแทนทาง
เศรษฐกิจและทนเค็มสูง ยุคาลิปตัสจึงเป็นตัวเลือกตัวหนึ่ง   ที่เราเลือกมาใช้ปลูกในพืชที่ที่พืชชนิดอื่นไม่สามารถเจริญเติบโตได้ดี   ยูคาลิปตัสจะถูกเปลี่ยนโฉมจากที่เคยถูกมองว่าเมื่อปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์   เขาดูดกินน้ำธาตุอาหารเก่ง   เมื่อปลูกในพืชที่แห้งแล้งเขาก็โตได้และสามารถคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่ได้  หากมีอบต.ที่ไหนสนใจก็สามารถติดต่อกลับมาได้ผม  ดร.เฉลิมพล เกิดมณี เบอร์โทร 081-985-8545 เรายินดีที่จะร่วมมือกับท่านในการช่วยกันเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ดินเค็ม ”

 

 

การเพิ่มพันธุ์ต้นกล้าในชุดทดลอง


ก่อนจบการสนทนาในวันนั้นดร.เฉลิมพล เกิดมณี ได้กรุณาแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวและชาวนาไทยในปัจจุบัน

                  “สถานการณ์ข้าวของไทยในปัจจุบันเป็นอันตรายอย่างยิ่งในการคิดใน
ระบบเกษตรของเรา ราคาข้าวดี แต่ราคาข้าวที่ถีบตัวสูงขึ้น  ไม่ได้เกิดจากความสามารถของคนไทย   แต่เกิดจาการที่ภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ทำให้ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดีย ไม่สามารถผลิตข้าวเพียงต่อต่อความต้องการของประเทศ   ซึงพวกนี้เป็นผู้ขายข้าวหลักในตลาดโลกเช่นเดียวกับประเทศไทย  

ความต้องการเท่าเดิมแต่ความสามารถในการผลิตเข้าสู่ตลาดโลกน้อยลงจึงทำให้ 
ราคาข้าวถีบตัวสูงขึ้น ดังนั้นราคาข้าวที่สูงขึ้นจริงไม่ใช่ราคาข้าวจริงๆ  ข้อได้เปรียบของเราคือ  บนที่ตั้งของไทย มีความสมบูรณ์แล้วก็คงที่  ไม่ค่อยถูกรบกวนจากภาวะแผ่นดินไหว  หรือภัยธรรมชาติอื่นๆ   แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะเช่นนี้เองนี้ ถ้ามีภาวะแล้ง  คือต้นนี้โลกมีภาวะแล้งที่ทวีปอเมริกา น้ำมากที่เอเชีย แต่มันก็จะเวียนในทุกๆประมาณ 3 ปี 

ดังนั้นหากแล้ง  เมื่อไหร่ก็จะกลับกันไทยจะแห้งแล้งอย่างมาก   แต่พวก ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดีย ก็จะสามารถปลูกข้าวได้ดีขึ้น  ดังนั้นหากเราไม่สามารถผลิตข้าวที่ทนเค็มทนแล้งได้ไม่ทันก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นมาได้  ถ้าพูดถึงสภาวะของข้าวในตอนนี้ก็คงต้องบอกว่า ราคาข้าวที่เปลี่ยนไปไม่ได้เกิดความสามารถ แต่เป็นเรื่องวของ Demand-Supply  

                  

อีกเหตุผลหนึ่งคือประเทศไทยเราเองระบบเกษตรเริ่มเปลี่ยนไปเยอะ   ส่วนลูกหลานที่ได้ร่ำเรียนแล้วนี้  ก็ไม่ค่อยจะกลับไปช่วยพ่อแม่ในการทำนาทำไร่   ก็จะทำให้ความสามารถในการแข่งขันเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง   แต่ตรงนั้นมันยังมีช่องโอกาสอีกเยอะเป็นเกษตรเทคโนโลยี  เช่นที่จีน หรือญี่ปุ่นผลิตข้าวลูกผสม ที่ให้ผลผลิต 2,000 กิโลกรัมต่อไร่ 

หรือการผลิตปาล์มน้ำมัน ซึ่งให้ผลกำไรที่ดีกว่าการปลูกข้าว ถึง 3 เท่าตัว ตลาดมีความต้องการสูง   สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้ เราสามารถพันธุ์พืชไปได้อีกเยอะ และทำให้ประเทศไทยมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจได้ 

                 

เราสำหรับชาวนาไท  ยต้องมองว่าโลกมันเปลี่ยน แต่จริงๆแล้วยังมีอยู่ แต่เปลี่ยน
จากระบบร่วมลงแขก   มาเปลี่ยนเป็นระบบการจัดจ้าง  ซึ่งจริงๆแล้วมันก็คล้ายๆกันเพียง
แต่ว่าเอาเงินมาเป็นอุปกรณ์ในการตีราคา   แต่เดิมเขาใช้วิธีตีเป็นแรงงาน  แล้วอีกอย่างคือ
เวลาปลูกข้าวนี้จะปลูกพร้อมๆกัน  ดังนั้นการหมุนเวียนของแรงงานก็จะทำได้ยาก  

เราต้องมาเริ่มคิดว่าจะทำอย่างไรให้ใช้แรงงานได้น้อยลง แต่ผลผลิตมากขึ้น  ลดการใช้ปุ๋ยเคมี   ทำนาเนี่ยมีคำพูดว่าทำนาหาเงินให้คนขายปุ๋ย   แต่ยังไงเชื่อว่าอาชีพชาวนาจะต้องมีอยู่  เพราะโดยวิสัยของคนไทย  การมองเห็นข้าวในนานั้นหมายความว่าปีหน้ายังมีชีวิตรอด  ข้าวจึงไม่ใช่เรื่องของเงิน แต่ข้าวเป็นวัฒนธรรมความมั่นคงทางจิตใจ


ดร.เฉลิมพล เกิดมณี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านพืชสวนจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   หลังจากจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีได้ไปทำงานในบริษัท Asahi Industriesประเทศญี่ปุ่นอยู่สองปี   หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในสาขา Horticultural Engineering .ในมหาวิทยาลัย Chiba University
 

 1995  Ph.D. (Supreme Award) Horticultural Engineering, Chiba University , Japan 
 1989  B.Sc. (Honor) Agriculture, Kasetsart University , Thailand March

หลังจากนั้นก็เข้าทำงานใน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะนักวิจัย    ดร.เฉลิมพล เกิดมณี ถือได้ว่าเป็นนักวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีผลงานที่ได้รับรางวัลนานนาชาติ 6 รางวัล ผลงานจดสิทธิบัตร 7 สิทธิบัตร และบทความที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติอีกกว่า 40 ผลงาน

 

 

 

 




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com