ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน

เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน


ประมวลข้อมูลงานสมัชชาวิชาการเกษตรกรรมยั่งยืน ปี 2553" วิถีเกษตรกรรมยั่งยืน : วิถีการพัฒนาฝ่า...วิกฤติ" เวที“พันธุกรรมพื้นบ้าน : ศักยภาพแห่งการอยู่รอด” เอกสารประกอบการนำเสนอในห้องย่อยประสบการณ์เกษตรกรรมยั่งยืน วันที่ 23 มีนาคม 2553 ณ อาคารพิทยพัฒน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช คัดจาก เว็บไซต์มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนประเทศไทย www.sathai.org 

ความหลากหลายทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญของคนทำการเกษตร  ที่ได้รับการสืบทอดส่งต่อจากบรรพบุรุษถึงลูกหลาน เชื้อพันธุ์ที่ดีถูกส่งต่อจากมือสู่มือ รวมทั้งอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้วยการปลูกกิน คัดเลือกลักษณะที่ต้องการไว้เป็นต้นพันธุ์ต่อไป 

แต่ระบบการเกษตรที่เปลี่ยนไปเพื่อตอบสนองการค้าเป็นหลัก  ทำให้พันธุกรรมดั้งเดิมถูกละเลย จนแทบจะหมดคุณค่าไปจากสังคม ทั้งที่พืชผักพื้นบ้านเหล่านี้เป็นฐานทรัพยากรทางอาหารที่สำคัญที่จะสร้างความอยู่รอดให้เกษตรกร ในขณะที่เมล็ดพันธุ์ใหม่จากบรรษัทก็ผ่านการปรับแต่งให้ไม่สามารถเก็บไว้เป็นเชื้อพันธุ์ได้อีกต่อไป เกษตรกรในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงไม่สามารถพึ่งตนเองในด้านการผลิตได้ 

พืชผักพื้นบ้านส่วนหนึ่งยังคงถูกได้รับการปลูก ดูแลรักษา ปรับปรุงพันธุ์ด้วยมือของเกษตรกร อย่างแม่สมควร คำแสน เกษตรกรผู้คร่ำหวอดอยู่ในการผสมพันธุ์ผักจากจังหวัดน่านซึ่งได้เล่าถึงกรรมวิธีการ ผสมพันธุ์พืชตระกูลแตง ซึ่งต้องเลือกต้นพันธุ์ที่จะเป็นต้นแม่และต้นพ่อที่มีคุณสมบัติที่ดี เลือกเอาจุดเด่นของแต่ละต้นมาผสมกันเพื่อจะให้ได้ต้นที่ดีกว่าเดิม 

โดยเลือกปลูกต้นพ่อก่อน หลังจากนั้นสิบวันจึงปลูกต้นแม่พันธุ์ เพื่อให้ตัวผู้มีดอกก่อน เมื่อแตงออกดอกแล้ว ก็จะเลือกเวลาประมาณสี่หรือห้าโมง ใช้ถุงกระดาษหรือลวดหนีบกระดาษหนีบเกสรตัวเมียไว้ แต่ระวังอย่าให้กลีบดอกหลุดออก ถ้าหลุดออกจะมีแมลงหรือผึ้งมารบกวนทำให้พันธุ์ไม่บริสุทธิ์ และเด็ดดอกตัวผู้ซึ่งอยู่ในลำต้นเดียวกันให้เด็ดทิ้งให้หมด ส่วนต้นพ่อนั้นให้เด็ดดอกออกมา แล้วเอาผ้าขาวบางชุบน้ำห่อไว้ การผสมพันธุ์จะทำตอนเช้า แต่ไม่ควรเกิน 11 นาฬิกา

เพราะถ้าเวลานี้เกินเกสรตัวผู้และตัวเมียจะอยู่ในสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการผสมพันธุ์ โดยแกะเอาคลิปออกแล้วเอาเกสรตัวผู้ที่ต้องการเข้าไปแหย่เบาๆที่เกสรตัวเมีย(หรืออาจใช้ไม้พันสำลี) แล้วเอาคลิปหนีบไว้เหมือนเดิม เอาเชือกหรือด้ายผูกทำเครื่องหมายไว้ว่าถูกผสมพันธุ์แล้ว 

 
 
ต้นแตงอาจจะผสมได้หลายจุด แต่เมื่อติดแล้วต่อต้นจะติดไม่มาก โดยจะติดจากข้างล่างขึ้นไป หลังจากนั้นก็ทิ้งไว้จนกว่าจะสุก และนำมาบ่มทิ้งไว้ 20 วัน ลูกที่ออกมาจะต้องนำมาปลูกอีกครั้ง ถ้าได้ลักษณะตามที่ต้องการก็เก็บไว้เป็นต้นพันธุ์ต่อไป 

ข้อควรระวัง คือ การผสมพันธุ์จะต้องละเอียดมาก ในช่วงที่ผสมพันธุ์ต้องระวังอย่าให้เกสรติดมือ และระวังอย่าให้ผึ้งหรือแมลงเข้าไปชิงผสมก่อน นอกจากนี้เกสรตัวผู้ต้องเก็บให้ดีโดยใส่ภาชนะปิดฝาให้มิดชิดเพื่อกันแมลง และห้ามดอกโดนฝนเด็ดขาด 

ด้านการผสมพันธุ์ พันธุ์บวบเหลี่ยม ต่างจากการผสมแตงคือ บวบจะเก็บตอนบ่าย 2 ถึง 4 โดยใช้ถุงว่าวสีขาวครอบตามแนวยาว ครอบเกสรตัวเมีย ด้านเกสรตัวผู้ก็ทำเหมือนกรณีแตง คือเก็บดอกมาพักไว้ก่อน เมื่อถึงเวลา 4 ถึง5 โมง เกสรตัวเมียเริ่มแย้ม (ถ้าดอกบานแล้วจะใช้ไม่ได้ ให้เด็ดทิ้ง) ให้นำเกษตรตัวผู้มาแล้วให้ถุงครอบไว้เหมือนเดิม หลังจากนั้นทำสัญลักษณ์การผสมโดยใช้ด้ายมัด แล้วรอจนกว่าถุงจะหลุดไปเอง ก็จะได้ผลที่ผสมเรียบร้อย พร้อมที่เจริญเติบโตต่อไปในกรณีการเลือกต้นแม่ของฟักทองการดูว่าดอกตัวเมียที่พร้อมจะผสมพันธุ์นั้นจะสังเกตได้ง่าย โดยจะมีเส้นสีเหลืองขึ้นที่ร่องดอกในตอนเย็น ซึ่งจะมีสีเข้มและชัดเจนขึ้น 


พืชจะเจริญเติบโตได้ดีก็ต้องอาศัยน้ำที่ดี ดินที่อุดม รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อจะหยั่งราก ผลิดอกออกผลยังความภาคภูมิใจให้กับผู้ที่คอยดูแล รดน้ำพรวนดิน แต่การที่ได้คุณลักษณะของพืชผักที่สอดคล้องกับสภาพของธรรมชาตินั้น จะต้องมีเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการคัดสรรด้วยมือของเกษตรกรเอง ด้วยวิธีการง่ายๆที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ซึ่งจะแบ่งเมล็ดพันธุ์ผักออกเป็น 4 กลุ่ม คือกลุ่ม คือ 

1. กลุ่มพืชที่ต้องเก็บเมล็ดพันธุ์จากผลแห้ง โดยจะต้องนำผลไปตากแดด 2-3 วัน ก่อนที่จะเก็บเมล็ดพันธุ์ ซึ่งได้แก่ พืชตระกูลบวบ 

2. กลุ่มที่เก็บเมล็ดเมื่อเริ่มสุกแก่ พืชกลุ่มนี้ คือ ถั่ว ข้าวโพด ด้วยการนำมามัดรวมกัน แขวนผึ่งให้ลมวิ่งผ่านตลอด(ห้ามตากแดด) 

3. กลุ่มพืชที่ต้องเก็บเมล็ดเมื่อผลสุกแก่ ได้แก่ พริก มะเขือ ฟักทอง มะระ แตงโม ฟักเขียว นำเอาพืชที่ต้องการจะเก็บมาบ่มไว้อย่างน้อย 15 วัน ส่วน พริก มะเขือ มะระ นั้นไม่ต้องบ่ม เมื่อเก็บมาผ่าเอาเมล็ดออกได้ทันที จากนั้นจึงนำเมล็ดไปล้างให้สะอาด พึ่งแดดให้แห้ง 

4.กลุ่มพืชบางชนิดที่มีสารห่อหุ้มเมล็ด ซึ่งก็มีพืชจำพวก มะเขือเทศ มะละกอ แตงกวา แตงร้านนำมาขูดเอาเมล็ดแล้วหมักไว้ 1-2 คืน สารหุ้มเมล็ดจะถูกทำลายด้วยเชื้อยีสต์ทำให้เมล็ดล้างง่ายขึ้นจากนั้นจึงนำไปล้างน้ำและตากแดดให้แห้งสนิท 

ทั้งนี้หลังจากเมล็ดพันธุ์แห้งแล้วก็นำมาบรรจุลงถุงกระดาษแล้วบีบอากาศออกหรือขวดแก้วและปิดให้แน่น พร้อมทั้งเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับสายพันธ์ไว้ให้ชัดเจน จากนั้นจึงนำมาบรรจุภาชนะทึบแสง ปิดผาให้สนิทจะเก็บเชื้อพันธุ์ไว้ได้ประมาณ2 ปี แต่หากนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นก็สามารถยืดอายุได้นานถึง 4 ปีเลยทีเดียว
 
 

ทุกวันนี้ปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ยังอยู่ในมือของกลุ่มทุน ทำเกษตรเป็นเหมือนแรงงานในผืนแผ่นดินของตนเอง หากเกษตรกรเรียนรู้จนกระทั่งสามารถจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ด้วยตัวเอง นั่นก็ย่อมหมายถึงโอกาสแห่งความเป็นไทและการพึ่งพิงตนเองได้อยู่ในมือของทุกๆคน เพราะเกษตรกรคือผู้ที่โอบอุ้มให้เมล็ดพันธุ์เติบโตเป็นกล้าไม้ที่จะยังความอิ่มเอมให้ผืนแผ่นดิน. 



ที่มา : มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืนประเทศไทย (112.142.172.243) [2010-05-13 12:44:39]
 

 




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com