ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


ชันป่น

 หลายคนคงสงสัยว่า ชันป่นหรือขี้ซีที่นำมาใช้ยาไม้ ยาเรือนั้นคืออะไร 

ชันป่น ที่เราเห็นวางขายทั่วไปในร้านวัสดุก่อสร้างนั้น  เป็นของป่าชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นสารเหลว ๆ (liquid) ที่ไหลออกมาจากส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ เช่น เปลือกไม้หรือเนื้อไม้ก็ได้ ชันและยางไม้เกิดจาก “น้ำมันหอมระเหย” (Volatile oil หรือEssential oil) ซึ่งมีกลิ่นและรสเฉพาะตัวได้ระเหยออกไปแล้วเมื่อกระทบกับอากาศ  สารเหลวที่เป็นยางนี้จะค่อย ๆแข็งเป็นก้อนหรือเป็นแท่ง (solid) เรียกว่า “ชัน”(Hard resin)  ภาคอิสานเรียกว่า “ขี้ซี”  หากสารเหลวที่ไหลออกมายังคงมีลักษณะเป็นของเหลวข้น (liquid) อยู่ ของเหลวข้นนี้เรียกว่า“ยาง” หรือ “ครึ่งชันครึ่งยาง” (Oleoresin)

 

การเกิดชันขี้ซี

        ป่าเต็งรังส่วนใหญ่เป็นพืชในตระกูลยาง (Family : DIPTEROCARPACEAE)มีแมลงที่เป็นศัตรูพืชของป่าไม้มาก โดยเฉพาะแมลงในอันดับโคลีออพเทอรา (Order : COLEOPTERA)ได้แก่พวกด้วงและแมลงปีกแข็ง(beetles)ด้วงเหล่านี้จะเจาะไชจากบริเวณเปลือกไม้ที่แตกที่มีรูเข้าไปกินเนื้อไม้สดในบริเวณแก่นของกิ่งไม้หรือลำต้นทำให้เกิดรอยแผล  แผลเป็นรูยาวลึกเข้าไปตามเส้นทางที่ด้วงกัดกินพืช จำเป็นต้องหลั่งยาแก้พิษหรือน้ำยางออกมาเพื่อรักษาแผล  และหุ้มเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไป ทำให้ด้วงไม่สามารถกินเนื้อไม้เดิมต่อไปได้อีก

 

น้ำยางเหลวนี้เมื่อกระทบกับอากาศจะเหนียวข้นและแข็งทันทีกลายเป็นชันขี้ซี น้ำยางเหลวรุ่นต่อไป จะหลั่งไหลออกมาพอกน้ำยางแข็งเพิ่มมากขึ้น  ทำให้เกิดเป็นแท่งแหลมยาวย้อยยื่นออกมาจากกิ่งหรือลำต้นส่วนเกินไม่สามารถเกาะบนแท่งได้ก็จะตกลงมาสู่พื้นป่าเป็นคราบสีเหลืองบนหิน

 

 

การเก็บชันขี้ซี

       ชาวบ้านส่วนใหญ่จะเก็บชันขี้ซีได้ตลอดปีเนื่องจากไม่ละลายน้ำ ถ้าอยู่ต่ำก็ใช้มือหัก ถ้าอยู่สูงขึ้นไปจะใช้ไม้ยาว ๆ (ไม้ส้าว) เขี่ยลงมา เด็ก ๆ ชอบให้หนังสะติ๊กยิงแท่งชันให้ตกลงมาเนื่องจากเปราะและหักง่าย  จากนั้นจะรวบรวมใส่กระสอบป่าน วันเก็บได้คนละ 2-10 กิโลกรัม มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงบ้านถือเป็น  รายได้ส่วนหนึ่งของครอบครัว 

ประโยชน์

      ใช้ผสมน้ำยาทาไม้ ยาแนวเรือ ทำน้ำมันชักเงา ผสมสีพ่นรถยนต์ ยาสมานแผลและแก้โรค ท้องร่วง หรือในมาโรยไว้ตามจุดต่างๆเพื่อกันมด

      ก่อนฤดูน้ำเหนือหลากจะมาถึงภาคกลางนั้นชาวบ้านจะเอาเรือต่างๆที่จะใช้งานในช่วงน้ำหลาก  ทำการ “ขึ้นคาน” เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย สมบูรณ์ของเรือทุกซอกทุกมุม โดยเฉพาะรอยต่อของแผ่นไม้ต่างๆที่มาประกอบกันเป็นตัวเรือ เพราะเรือส่วนใหญ่ไม่ได้ขุดมาจากต้นไม้ทั้งต้น  แต่จะเอาแผ่นไม้มาประกอบกัน 

      ดังนั้นย่อมมีช่องว่างระหว่างรอยต่อ นี่เองชาวบ้านจำเป็นต้อง “ยาเรือ” โดยใช้ “ชัน” หรือ “ขี้ชัน” มายาเรือ   โดยมีหลายขั้นตอน คือ ทำความสะอาดเรือก่อน เอาเหล็กหนักๆที่มีปลายข้างหนึ่งตีแบนๆและมีความคมแต่งอมากกว่า 90 องศา มาขูดเอาผิวเดิมๆของเรือออกให้หมด แล้วเอาแปลงทองเหลืองขัดให้สะอาดถึงเนื้อไม้จริงๆ ปล่อยให้แห้งสนิท 

      แล้วถึงขั้นตอนลงชันตามร่องรอยต่อไม้ดังกล่าว เอาชันซึ่งเป็นผงมาผสมน้ำมันยางให้ข้นเหนียว  แล้วเอาไปอุดตามรอยต่อแผ่นไม้ดังกล่าวทุกซอกทุกมุมทั้งลำเรือ เพื่อมิให้มีรูรั่วน้ำเข้าเรือเมื่อเอาไปใช้งาน  

       เมื่ออุดเสร็จก็เอาน้ำมันยางเหลวมาทาเนื้อไม้เรือทุกส่วนให้ทั่ว เพื่อรักษาเนื้อไม้ในการใช้งานให้คงทนตลอดไป  เมื่อเสร็จเรือจะดูใหม่เอี่ยม น่าใช้ และพร้อมใช้งานยามที่น้ำหลากมาถึงทุ่งนาก็เอาเรือ “ลงจากคาน” นำไปใช้ตามประสงค์ต่อไป


ภาพและข้อมูลจาก:

บางทราย http://gotoknow.org/blog/dongluang/97094 

และ http://royal.rid.go.th/phuphan/parmai/HardResins.htm

 

 




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com