ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


กล้วยตกเครือกลางลำต้น

จาก http://www.chiangmainews.co.th/page/?p=167232

คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่า “กล้วย” เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับการดำรงชีวิต โดยเฉพาะ ผลกล้วย  ทั้งผลกล้วยดิบ และผลกล้วยสุก สามารถนำไปประกอบอาหาร ทั้งอาหารคาว และหวาน หรือแปรรูปได้สารพัด กล้วยเศรษฐกิจเป็นที่ต้องการของตลาดหลักๆ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า  กล้วยหอม กล้วยไข่ ซึ่งทั้ง 3 พันธุ์นี้ล้วนแล้วแต่มีลำต้นสูงใหญ่ ไม่ต่ำกว่า 2 เมตร บางต้นสูงถึง 3.5 เมตร ทำให้ยากต่อการจัดการหรือการเก็บเกี่ยวผลผลิต และอาจเจอปัญหาต้นโค่นล้มเพราะรับน้ำหนักเครือไม่ไหวทำให้เกิดผลกล้วยเสียหายได้


 

 

มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างอยู่หมัด ด้วยการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นเพื่อง่ายต่อการจัดการดูแล การเก็บเกี่ยวผลผลิต และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

 

นายนิคม วงศ์นันตา นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ จากสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตรมหาวิทลัยแม่โจ้ และทีมงาน ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นมากว่า 3 ปี จนประสบความสำเร็จ 

“เราได้ทำการศึกษาช่วงเวลาของการเกิดปลีกล้วยด้วยการสังเกตลักษณะการเจริญเติบโตพื้นฐาน คือ เมื่อกล้วยมีอายุประมาณ 6-8 เดือน กล้วยจะมีลำต้นขนาดใหญ่พร้อมที่จะออกปลีโดยที่ ต้นแม่จะตกเครือกล้วยก่อนต้นลูก ต้นหลาน ไล่เลียงกันไป และที่สำคัญคือการสังเกต “ใบธง” ของกล้วยซึ่งบ่งชี้ระยะของการออกปลีในแกนกลางลำต้น ซึ่งศึกษาด้วยการผ่าลำต้น จึงพบกว่าระยะที่พอเหมาะในการเจาะลำต้นเพื่อบังคับให้กล้วยตกเครือนั้น คือระยะที่ใบธง (ใบยอดสุดท้ายของกล้วยซึ่งมีขนาดสั้นและเล็กมาก) ชูก้านใบขึ้นสู่ท้องฟ้า มีลักษณะม้วนหลวมๆ ไม่แน่นเกินไป ไม่คลี่เกินไปนั่นคือระยะพอเหมาะที่จะเจาะลำต้นบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้นในระดับความสูง 1.5 เมตร ซึ่งเป็นความสูงระดับพอดีในการจัดการดูแลกล้วย  การเก็บเกี่ยวผลผลิต”

…ขั้นตอนการบังคับให้กล้วยตกเครือกลางลำต้น…
- อันดับแรกให้ดูต้นที่สมบูรณ์มีอายุ 6-8 เดือน (นับจากการการปลูกใหม่หรือแทงหน่อใหม่)
- สังเกต ”ใบธง” ของกล้วยต้นนั้นๆ ว่าต้องม้วนแบบหลวมๆ ไม่แน่นและไม่คลี่เกินไป
- วัดความสูงจากพื้นดินขึ้นไป 1.5 เมตร ทำเครื่องหมายกว้าง 9 ซม. สูง 15 ซม.เพิ่อเตรียมเจาะ โดยเลือกเจาะด้านนอกกอฝั่งตรงข้ามของต้นแม่
- ลงมือเจาะลำต้นกล้วยด้วยมีดปลายแหลม ในตำแหน่งที่ทำสัญลักษณ์ไว้ โดยค่อยๆกรีดลงไปที่ละชั้นของกาบกล้วยจนถึงแกนกลางลำต้นกล้วยแล้วตัดแกนกลางและดึงออก
- นำแผ่นพลาสติกที่เตรียมไว้ตอกตรงส่วนบนสุดของช่องที่เจาะ
- พ่นยากันราให้ทั่วบริเวณที่มีรอยเจาะ

 

เป็นอันเสร็จขั้นตอนการเจาะลำต้นเพื่อให้กล้วยตกเครือ  หลังจากนั้นอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเห็นว่ากล้วยจะค่อยๆ แทงเครือออกทางช่องที่เจาะเอาไว้  ก็สามารถดูแล รักษาเครือกล้วยต่อไปจนได้ระยะเวลาเก็บเกี่ยว  ถ้าเป็นกล้วยไข่ก็ใช้เวลาประมาณ 30-45 วัน   กล้วยหอม  40-60 วัน กล้วยน้ำว้า  80-120 วัน  ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้โดยง่าย

 

 

 

การบังคับกล้วยออกเครือกลางลำต้นเป็นอีกวิธี หรือเป็นอีกทางเลือก ที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้เพื่อการดูแลจัดการกล้วยได้สะดวกยิ่งขึ้น ป้องกันการโค่นล้มของลำต้น ลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหาย ไม่ต้องมีไม้ค้ำลดค่าใช้จ่าย  เกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นายนิคม วงศ์นันตา สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  โทรศัพท์ 081-9515287

ภาพประกอบ ขั้นตอนการบังคับกล้วยตกเครือกลางลำต้น

ภาพประกอบจาก http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/knowledge/2013/696-banana-be?showall=&start=1

 

ban1   ban2   ban3
         
ban4   ban5   ban7
         
ban8   ban9   ban10
         
ban11   ban12   ban13
         
ban14   ban15  



เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com