ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน

ข้อมูลจาก http://climatechange.jgsee.org/

นักวิจัย มก.ประสบผลสำเร็จผลิตพลาสติกจากพืชเศรษฐกิจไทย เช่น ข้าวโพด ข้าวเจ้า มันสำปะหลัง ค้นพบวิธีเปลี่ยนแป้งเป็นพลาสติก ผลิตบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารได้หลายชนิด ย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกและภาวะโลกร้อน

กระแส ตื่นตัวเรื่องการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยคิดค้นและผลิตวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ ล่าสุดนักวิจัยจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบผลสำเร็จในการผลิตพลาสติกที่ทำจากแป้งในวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์


ดร.รังรอง ยกส้าน หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นวัตกรรมวัสดุชีวภาพ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ นักวิจัยพลาสติกจากแป้งในวัตถุดิบทางการเกษตร กล่าวว่า พลาสติกที่คิดค้นขึ้นใหม่ทำจากแป้งที่ได้จากพืชเศรษฐกิจไทยหลายชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าวเจ้า มันสำปะหลังและถั่ว พลาสติกประเภทนี้เรียกว่าพลาสติกชีวฐาน หรือพลาสติกที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ โครงการวิจัยเริ่มตั้งแต่ปี 2549 ได้รับทุนวิจัยจาก ม.เกษตรศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วัตถุประสงค์คือ นำแป้งจากพืชมาผ่านกระบวนการเปลี่ยนรูปเป็นพลาสติกที่สามารถใช้งานทดแทน พลาสติกจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

ดร.รังรอง ยกส้าน
    ดร.รังรอง ยกส้าน หัวหน้าทีมวิจัย

ดร.รังรอง กล่าวว่า ผลการวิจัยได้นำไปยื่นขอจดสิทธิบัตรแล้ว 3 เรื่องคือ 1.วิธีการนำแป้ง จากพืชมาผลิตเม็ดพลาสติก 2.การนำเม็ดพลาสติกจากแป้งมาผสมกับพอลิแล็กติกแอซิด (PLA) หรือเม็ดพลาสติกสังเคราะห์ย่อยสลายได้ และ 3.กระบวน การและเทคนิคการขึ้นรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ถุง จานรองแก้ว ถาด ถ้วยและช้อน เป็นต้น

"ผลการวิจัยพบว่า แป้งที่ได้จากข้าวเจ้า ข้าวโพดและมันสำปะหลัง เมื่อนำมาเข้ากระบวนการเปลี่ยนรูปเป็นพลาสติกจะมีคุณสมบัติในด้านความเหนียว ยืดหยุ่นและคงทน สามารถใช้งานบรรจุหีบห่อได้สะดวก แต่มีสีทึบกว่าพลาสติกทั่วไป ขณะนี้มีบริษัทผลิตพลาสติกให้ความสนใจและต้องการนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ซึ่ง สามารถทำได้จริง

พลาสติกที่ทำจากพืชเศรษฐกิจของไทยมีข้อดีคือ นอกเหนือจากช่วยลดปริมาณขยะในสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีต้นทุนการผลิตถูกและสามารถแข่งขันกับพลาสติกทั่วไปในตลาดได้ เพราะผู้บริโภคในปัจจุบันคำนึงถึงเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น"

นักวิจัยพลาสติกจากแป้งในวัตถุดิบทางการเกษตรกล่าวอีกว่า พลาสติกทั่วไปที่มีแหล่งกำเนิดจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม แม้จะมีข้อดีหลายประการ เช่น ความแข็งแรง น้ำหนักเบาและราคาถูก แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าพลาสติกชนิดนี้ไม่สามารถย่อยสลายได้เองในธรรมชาติ ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีกำจัดโดยการรีไซเคิลหรือการฝังกลบ การเผา ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น ดังนั้นจึงผลิตพลาสติกจากวัสดุสิ่งมีชีวิต เช่น พืชเศรษฐกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาการตกค้างของขยะพลาสติก แก้ปัญหาภาวะโลกร้อน รวมทั้งช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพราะพลาสติกจากพืชไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

"พลาสติก นี้ทำจากแป้งข้าวโพด แป้งข้าวเจ้าและแป้งมันสำปะหลังเป็นส่วนผสมหลัก โดยสามารถเลือกใช้พืชชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตในตลาด นอกจากนี้ยังใส่สารเติมแต่ง เช่น น้ำตาลจากอ้อย และกรดไขมันจากพืชและสัตว์ เพื่อช่วยเพิ่มคุณสมบัติการเกาะตัวของส่วนผสมให้เข้ากันได้ดี คงรูปได้เป็นเวลานาน ทนความร้อนและโดนน้ำได้โดยไม่เปลี่ยนรูป" ดร.รังรองกล่าว

คณะนักวิจัยโครงการดังกล่าวประกอบด้วย ดร.รังรอง ยกส้าน ดร.อำพร เสน่ห์ และ ผศ.ดร.น้ำฝน ลำดับวงศ์ จากภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกงานวิจัยเพื่อพัฒนาพลาสติกชีวฐานจากวัตถุดิบเกษตร ของประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com