ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


เห็ดโลกยิ้ม

เรื่อง: ฐิตินันท์ ศรีสถิต

จากเวปไซท์ : http://www.greenworld.or.th

 

1.
เรื่องทั้งหมดเริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 จากประโยคบอกเล่าที่ว่า “กากกาแฟน่าจะใช้ปลูกเห็ดได้"

สำหรับโปรเฟสเซอร์อลัน รอสส์ (Alan Ross) เขาก็แค่แสดงความคิดเห็นขึ้นมาลอยๆ ทว่าสำหรับผู้ฟังอย่างนิกฮิล อะโรรา (Nikhil Arora) อเล็กซ์ วาเลซ (Alex Velez) นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในสาขาธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ คำกล่าวนั้นเป็นเมล็ดพันธุ์ไอเดียที่หย่อนลงมาในจังหวะเหมาะเจาะเหลือเกิน

“เราทั้งคู่เข้าใจและพอจะมองเห็นความเป็นไปได้ ผู้คนในประเทศนี้ดื่มกาแฟกันเป็นบ้าเป็นหลัง ถ้าเราสามารถเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่า มันจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เลยทีเดียว" อะโรราเปิดฉากเล่า

แล้วมันก็จริงอย่างเขาว่า ยอดขายเมล็ดกาแฟทั่วสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 1,000 ล้านกิโลกรัมต่อปี ซึ่งเมื่อแปรรูปมันเป็นเครื่องดื่มหอมกรุ่น ก็จะเหลือกากกาแฟจำนวนมหาศาล เกือบทั้งหมดถูกทิ้งลงถังขยะเพื่อรอเวลาส่งไปกำจัด

ภาพ : http://images.businessweek.com/ss/10/06/0608_socialentrepreneurs/3.htm  
 

โอกาสที่ซ่อนอยู่ในวัตถุดิบปริมาณล้นเหลือผลักให้สองหนุ่มตามสืบเสาะ ข้อมูลเพิ่มเติมจากโปรเฟสเซอร์อลัน กระทั่งได้รับการแนะนำให้รู้จักกับผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดรา ชีวิตของพวกเขาจึงได้ก้าวเข้าสู่โลกใบใหม่ที่นับหนึ่งด้วยการสั่งหัวเชื้อ พร้อมกับเปลี่ยนห้องพักเล็กๆ ของวาเลซเป็นห้องแล็บวิทยาศาสตร์ชั่วคราว ทดลองเพาะเชื้อ และลงมือปลูกเห็ดในกากกาแฟ

...อีกไม่กี่เดือนถัดมา เมล็ดพันธุ์ไอเดียก็งอกงาม เมื่อนิกฮิลและอเล็กซ์ช่วยกันก่อร่างสร้างธุรกิจขายส่งเห็ดนางฟ้าและเห็ดหอม ภายใต้แบรนด์ "Back to the Roots”

 

2.  แม้ค่าพีเอชสูงของกากกาแฟจะเอื้อต่อการใช้เป็นวัสดุปลูกเห็ด แต่นักเพาะเห็ดหลายคนก็มองว่า มันอาจเกาะกันแน่นเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการงอกของเห็ด และไม่น่าจะกักเก็บความชื้นไว้ได้นานเท่าที่ควร

เงื่อนไขข้างต้นทำให้นิกฮิลและอเล็กซ์ต้องลองผิดกันอยู่ 2-3 เดือน กว่าจะข้ามผ่านข้อจำกัดดังกล่าวและได้ตื่นเต้นดีใจกับเห็ดล็อตแรกที่พวกเขา ปลูกเองกับมือ แล้วความสงสัยก็ตามมาติดๆ ...รสชาติของมันล่ะ

ไม่รอช้า หนุ่มไฟแรงสองคนหิ้วตะกร้าเพาะเห็ดไปยังร้านอาหารดังย่านเวสต์ โคลสต์ ซึ่งนอกจากจะให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม ยังเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวเรื่องสโลว์ฟู้ดของเมืองอีกด้วย เชฟใหญ่นำเห็ดขึ้นผัดเร็วๆ บนเตาและลองชิม ก่อนจะเอ่ยปาก..."ไม่เลวเลย รสชาติดีด้วยซ้ำ"

ฟีดแบ็กเชิงบวกที่สะท้อนกลับมาเพิ่มความมั่นใจขึ้นอีกเป็นกอง แล้วทั้งคู่พาหัวใจพองโตหิ้วตะกร้าเพาะเห็ดใบเดิมมุ่งหน้าไปเคาะประตูออฟฟิศ ของ "Whole Foods” ซูเปอร์มาร์เก็ตที่กระจายเครือข่ายอยู่ทางเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย...โดยไม่ ได้เตรียมตัวอะไรเลย

“มันอาจเป็นเรื่องงี่เง่าที่สุดที่ผมเคยทำ" นิกฮิลเล่าขำๆ ทว่าเหตุการณ์นั้นสร้างความประทับใจให้ตัวแทนเจรจาของซูเปอร์มาร์เก็ต ผลลัพธ์จึงไม่เพียงรับสินค้าไปวางขายในร้าน แต่ยังตามมาด้วยการให้คำปรึกษาทางธุรกิจแก่สองหนุ่มมือใหม่และร่วมสนับสนุน เงินลงทุน

หลังจากนั้นไม่นานโปรเจ็กต์เห็ดๆ ก็พาพวกเขาคว้ารางวัลผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมพร้อมรับเงินจำนวน 5,000 ดอลลาร์สหรัฐจากอธิการบดี นิกฮิลและอเล็กซ์จัดแจงแบ่งเงินเป็น 2 ส่วน ก้อนแรก 1,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับซื้อรถแวนมือสองเอาไว้ขับไปรับกากกาแฟจากร้านขายกาแฟ ก้อนหลัง 4,000 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับเช่าโกดังสินค้าเป็นสถานที่ผลิต บรรจุ และเตรียมการจำหน่าย

“พวกเราเดินหน้ากันเต็มที่ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นคนงานในฟาร์มเห็ดของตัวเองไปซะแล้ว เพื่อนงงกันใหญ่ คิดว่าพวกเราเพี้ยน" ทั้งคู่เล่าถึงปฏิกิริยาจากคนรอบข้าง ซึ่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับความเห็นของผู้จุดประกาย ณ จุดสตาร์ต

“นิกฮิลและอเล็กซ์เป็นเด็กหนุ่มที่น่าทึ่ง จากจำนวนนักศึกษาหลายพันคนที่ผมเคยสอน มีอยู่ไม่กี่คนหรอกที่จะเดินความสนใจด้วยอาการกระตือรือร้นเช่นนี้ จริงๆ แล้วมีบริษัทหยิบยื่นตำแหน่งงานที่ปรึกษาด้านธุรกิจและการธนาคาร ซึ่งรายได้งามให้กับทั้งคู่ แต่เขาก็ปฏิเสธและเลือกที่จะไขว่คว้าโอกาสในการผจญภัยด้วยตนเอง" โปรเฟสเซอร์อลันกล่าวด้วยความชื่นชม


3.หลังจากส่งเห็ดไปวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตอยู่สักระยะ พวกเขาก็ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในเดือนมีนาคม 2553 นั่นคือ "Easy-to-Grow Mushroom" หรือชุดปลูกเห็ดสำหรับครัวเรือน ซึ่งทั้งเชื้อเห็ดและกากกาแฟในถุงพลาสติกมิดชิดถูกบรรจุลงกล่องกระดาษ เมื่อเปิดถุงให้ความชื้นและแสงรำไรแวะมาทักทาย ภายใน 2 สัปดาห์ดอกเห็ดสดใหม่จะงอกออกมาให้ลิ้มลอง โดยแต่ละชุดปลูกสามารถให้ผลผลิตได้ 2-3 รอบ

สองหนุ่มวางขายชุดปลูกเห็ดด้วยความคิดดีหลายตลบ...ทั้งเพราะอยากให้คนทั่วไปได้ลองสัมผัสกับสถานะ "ผู้ผลิตอาหาร" บ้างเผื่อจะสร้างความเปลี่ยนแปลงในวงที่ขยายใหญ่กว่าเดิม  ทั้งเพราะต้องการแสดงตัวอย่างชัดๆ ของรูปแบบการผลิตอาหารบนฐานแห่งความยั่งยืน   ทั้งเพราะคาดหวังให้เด็กๆ ใช้เป็นเครื่องมือเรียนรู้ธรรมชาติอย่างง่ายๆ ถึงขนาดเปิดพื้นที่หน้าเว็บให้เยาวชนอวดภาพถ่ายเห็ดที่ตัวเองปลูกแต่ที่สุดเจ๋งเหนือสิ่งอื่นใดคือ แนวคิดชะลอสิ่งที่ (เหมือนจะ) ไร้ค่าให้กลายเป็นขยะช้าลง

คาดประมาณว่า ตั้งแต่เริ่มธุรกิจเห็ดมา นิกฮิลและอเล็กซ์สามารถดึงกากกาแฟออกจากถังขยะได้ราวๆ 4,500 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ แม้สุดท้ายมันจะจบปลายทางที่การกำจัดเช่นเดียวกับกากกาแฟอื่นๆ ทว่าเจ๋งกว่าตรงที่ก่อนหน้านั้นก็ได้มีส่วนร่วมในการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพไป แล้วหลายอิ่ม

ทั้งนี้ เจ้าของร้านกาแฟต้นทางมิได้ส่งมอบกากกาแฟแบบให้เปล่าๆ แต่ยังมอบเงินเล็กน้อยๆ เพื่อตอบแทนการนำมันไปต่อยอดใช้ประโยชน์ ซึ่งเขาเองก็ได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน กากกาแฟที่หายไปจากถังขยะช่วยลดภาระค่าขนส่งและกำจัดได้เดือนละหลายร้อย ดอลลาร์สหรัฐเลยเชียว

ปัจจุบันนิกฮิล อะโรรา และ อเล็กซ์ วาเลซ ในวัย 23 ปี ต้องทำงานง่วนอยู่กับเห็ดตั้งแต่ 6.30 – 21.00 น. สัปดาห์ละ 7 วัน โดยมีลูกมือร่วมทีมอีก 5 ชีวิต อาจจะเป็นการงานที่เหนื่อยหนักสักหน่อย แต่คนกลุ่มเล็กๆ นี้ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า ความอยู่รอดทางธุรกิจและสิ่งแวดล้อมสามารถเดินไปพร้อมกันได้

...อยู่ที่ใครจะเห็นความสำคัญ อยู่ที่ใครจะลงมือทำจริงจัง...ก็เท่านั้นเอง

 




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com