ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย

ข้อมูลจาก http://www.nanotec.or.th

 

แบตเตอรี่จัดเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้ พลังงานในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา โทรศัพท์มือถือ นาฬิกา ของเล่น กล้องภ่ายภาพ แม้กระทั่งไฟฉาย แบตเตอรี่และถ่านที่ให้พลังงานเหล่านี้เป็นสาเหตุหนึ่งของมลพิษในสิ่งแวด ล้อม มีการประมาณการว่าการบ้านหนึ่งหลังใช้แบตเตอรี่ถึง 20 หน่วยต่อปี และผลกระทบที่เกิดขึ้นแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานจำนวนนับแสนตันกลายเป็น ขยะอันตราย เมื่อแบตเตอรี่และถ่านเหล่านี้เสื่อมประสิทธิภาพสารเคมีโลหะหนักที่เป็น อันตรายเช่น ตะกั่ว และแคดเมี่ยม จะไหลออกมาบนปื้นเปื้อนในดิน และแหล่งน้ำใต้ดิน

 

นักวิจัยได้พัฒนาแบตเตอรี่ที่ไม่มีสารโลหะเป็นองค์ประกอบ โดยใช้สารประกอบโพลิเมอร์ที่ชื่อว่า Polypyrrole ทด แทน แต่ประสิทธิภาพที่ได้ยังไม่ดีเพียงพอที่จะนำมาใช้ในระดับอุตสาหกรรม วิธีการหนึ่งที่จะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของแบตเตอรี่โดยปลอดโลหะ ทำได้โดยการใช้สารโพลิเมอร์ที่มีสมบัติในการนำไฟฟ้ามาใช้เป็นอิเล็กโทรด  รวมทั้งการสร้างฟิลม์บางที่เหมาะสม และมีพื้นที่ผิวจำนวนมากบนวัสดุรองรับ Maria Stomme

นักวิจัยกล่าวว่า เซลลูโลสเป็นวัสดุรองรับที่ดี เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในธรรมชาติ และเป็นวัสดุที่ถูกนำมาใช้ในระดับอุตสาหกรรม ยิ่งไปกว่านั้นเส้นใยของเซลลูโลสสามารถใช้ร่วมกับสาร Polypyrole ทำให้สามารถเคลือบโพลิเมอร์ลงบนเส้นใยได้ดี การใช้สารประกอบแต่งระหว่างเซลลูโลส และโพลิเมอร์นำไฟฟ้านั้นมีความเป็นไปได้สูงในการนำกลับมาใช้ใหม่ มีน้ำหนักเบา และมีความทนทานสูง รวมทั้งมีต้นทุนในการผลิตที่ราคาถูก ทีมวิจัยจาก Uppsala University ได้พัฒนาสารประกอบแต่ง polypyrrole- cellulose ที่สามารถนำไฟฟ้าได้ มีความคงทน น้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่นสูง อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ยังต้องคำนึงถึงโครงสร้าง ระดับนาโนเมตรของพื้นที่ผิวของเซลลูโลสอีกด้วยโดยนักวิจัยได้ทำการค้นหาพืช ที่สามารถสร้างเซลลูโลสที่มีพื้นที่ผิวมากตามที่ต้องการ

ภาพสาหร่าย Cladophora

ภาพสาหร่าย Cladophora

นักวิจัยค้นพบว่า Cladophora สาหร่าย สายสีเขียว ในทะเลบอลติก สามารถสร้างเซลลูโลสที่แตกต่างจากเซลลูโลสที่ได้จากพืช และฝ้ายทั่ว ๆ ไป ที่ใช้อุตสาหกรรมผลิตกระดาษ เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบโครงสร้างและพื้นที่ผิวแล้วเซลลูโลสธรรมดามี พื้นที่ผิว 1 ตารางเมตรต่อ 1 กรัม แต่โครงสร้างเซลลูโลสของสาหร่ายมีพื้นที่ผิวมากกว่าถึง 100 เท่า

เมื่อทำการเคลือบแผ่นเซลลูโลสจากสาหร่ายด้วย Polypyrrole ที่ มีความหนาประมาณ 50 นาโนเมตร นักวิจัยชาวสวีเดนก็สามารถผลิตแบตเตอรี่ที่มีน้ำหนักเบามาก และสร้างสถิติใหม่ของระยะเวลาในการประจุไฟฟ้า และความความสามารถในการเก็บประจุไฟฟ้า ของแบตเตอรี่ประเภทนี้เลยทีเดียว โดยแบตเตอรี่ชนิดนี้ใช้เวลาในการอัดประจุเพียงแค่ 11 วินาที และมีความจุกระแสถึง 38-50 Ah/kg ซึ่งเป็นค่าสุงสุดของแบตเตอรี่กระดาษที่เคยมีการรายงานก่อนหน้านี้ ในการทดลองได้มีการใช้กระแสไฟในการประจุไฟฟ้า 600 มิลลิแอมแปร์ต่อ 1 ตารางเซนติเมตร และหลังจากการทดลองอัดประจุไฟฟ้า 100 ครั้ง พบว่าแบตเตอรี่มีประสิทธิภาพลดลงเพียงแค่ 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ภาพแบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย ภาพทางด้านซ้ายแสดงส่วนต่าง ๆ ของแบตเตอรี่ ส่วนทางด้านขวา คือภาพของแบตเตอรี่กระดาษก่อน และหลังหุ้มด้วยแผ่นอลูมินัม

ภาพแบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย ภาพทางด้านซ้ายแสดงส่วนต่าง ๆ ของแบตเตอรี่ ส่วนทางด้านขวา คือภาพของแบตเตอรี่กระดาษก่อน และหลังหุ้มด้วยแผ่นอลูมินัม

แบตเตอรี่กระดาษชนิดใหม่นี้เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ มีน้ำหนักเบา มีราคาถูก สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ แผงอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งทอได้อีกด้วย ประสิทธิภาพของแบตเตอรี่จากสาหร่ายนี้สูงกว่าแบตเตอรี่กระดาษที่ได้มีการ วิจัยมาก่อนหน้า และยังมีข้อดีเกี่ยวกับอายุการใช้งานอีกด้วย เนื่องจากสามารถทำการอัดประจุ และคายประจุได้หลายครั้งโดยแทบจะไม่สูญเสียประสิทธิภาพในการเก็บประจุไฟฟ้าเลย




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com