ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว

จาก www.manager.co.th

 

ศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. – นักเรียนโครงการเจเอสทีพีพบ “น้ำมะพร้าวหมัก” มีประสิทธิภาพช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็วกว่าการใช้กรดน้ำส้มถึง 8 เท่า ได้แผ่นยางพาราดิบที่มีคุณภาพดี เหมาะแก่อุตสาหกรรมยางพาราในครัวเรือน เสนอเป็นทางเลือกใหม่ใช้สารจากธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพที่ดีของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม


       
       น.ส.ศรีสุดา โรจน์เสถียร นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี และเยาวชนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและ เยาวชน ( Junior Science Talent Project) หรือ เจเอทีพี (JSTP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) เผยว่าในขั้นตอนผลิตยางแผ่นดิบจะต้องใช้น้ำยางพารามาผสมกับสารละลายกรด เช่น กรดฟอร์มิก หรือ กรดแอซิติก (กรดน้ำส้ม) เพื่อให้เนื้อยางจับตัวกันเป็นก้อนก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นยางแผ่น แต่นอกจากเป็นสารเคมีราคาแพงแล้วอาจมีผลเสียต่อสุขภาพเกษตรกรในอนาคต จึงสนใจหาสารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเป็นกรดมาช่วยในการจับตัวของน้ำ ยางพาราแทนสารเคมี
       
       “เมื่อลองหาวัตถุดิบในภาคใต้พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่นอกจากเป็นสวนยางพาราแล้ว ชาวบ้านมักปลูกสวนมะพร้าวในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย โดยส่วนใหญ่จะเน้นขายเนื้อมะพร้าวและทิ้งน้ำมะพร้าวไว้ เพราะขายไม่ได้ราคา น้ำมะพร้าวที่เหลือทิ้งบางส่วนชาวบ้านจะนำมาใช้ถนอมอาหารด้วยการดองผักตาม ภูมิปัญหาดั้งเดิม เช่น ผักเสี้ยนดอง ซึ่งจะมีรสเปรี้ยว เนื่องจากปกติสารที่มีรสเปรี้ยวมักมีสมบัติเป็นกรด จึงตั้งสมมุติฐานว่า หากนำน้ำมะพร้าวมาหมักก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และอาจนำมาใช้แทนสารเคมีในกระบวนการผลิตแผ่นยางดิบได้” น.ส.ศรีสุดา เผยที่มาของจุดเริ่มในการทำวิจัยครั้งนี้

ในงานวิจัยนี้ น.ส.ศรีสุดากล่าวว่าได้ทดลองผสมน้ำมะพร้าวหมักกับน้ำยางพาราแล้วพบว่าเนื้อ ยางพารามีการจับตัวกันได้ดี จึงขยายขนาดภาชนะที่ใช้ทดลอง จากนั้นหาอัตราส่วนการทำน้ำมะพร้าวหมักหรือหาอัตราส่วนของน้ำมะพร้าวต่อ น้ำตาล แล้วหาอัตราส่วนผสมของน้ำมะพร้าวหมักต่อน้ำยางพาราต่อ เพื่อดูว่าอัตราส่วนใดที่ให้เนื้อยางพาราจับตัวได้ดีและใช้เวลาน้อยที่สุด
       
       จากการทดลองพบว่าการหมักน้ำมะพร้าว 16 ส่วนต่อน้ำตาล 1 ส่วน เป็นเวลา 22 วันเป็นอัตราส่วนผลิตน้ำมะพร้าวหมักที่ให้น้ำยางพาราจับตัวอย่างสมบูรณ์ใน เวลา 18 นาที และได้แผ่นยางคุณภาพดี มีสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อนสม่ำเสมอทั้งแผ่น ส่วนอัตราส่วนของน้ำมะพร้าวหมักผสมกับน้ำยางพารา พบว่า อัตราส่วนน้ำยางพารา:น้ำมะพร้าวหมัก:น้ำ เป็น 4:2:1, 4:1.5:2, และ 4:2:2 นั้น ช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้ดีในเวลาที่ไม่ต่างกันมากนัก ดังนั้นจึงเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม


       นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการจับตัวของน้ำ ยางพาราที่ใช้น้ำมะพร้าว และกรดแอซิติก ที่มีการควบคุมค่าความเป็นกรด-เบส หรือค่า pH ให้เท่ากัน พบว่า น้ำมะพร้าวหมักที่อัตราส่วน 16:1 ช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้เร็วกว่าการใช้กรดแอซิติกถึง 8.11 เท่า และเมื่อนำยางแผ่นที่ได้จากน้ำมะพร้าวหมักไปทดสอบคุณภาพกับสถาบันวิจัย ยางพารา กรมวิชาการเกษตร พบว่ายางแผ่นที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ทั้งในส่วนของสี (Lovibond scale) ที่ได้ ค่าความอ่อนตัวแรกเริ่ม ปริมาณไนโตรเจน สิ่งระเหย และเถ้ามีค่าใกล้เคียงกัน


       


       นางสาวศรีสุดา กล่าวว่า ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าน้ำมะพร้าวหมักช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้ดี และแผ่นยางที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกับการใช้กรดแอซิติก ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปทดลองใช้ได้ เพียงแต่ในเบื้องต้นยังเหมาะต่อการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือนเท่านั้น ส่วนแผนงานวิจัยต่อจากนี้จะมีการศึกษาว่าสารชนิดใดในน้ำมะพร้าวที่ช่วยให้ น้ำยางพาราจับตัวดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาไปสู่การนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมยางพาราขนาดใหญ่ในอนาคต


       
       สำหรับงานวิจัยนี้มี น.ส.คณิตา สุขเจริญ อาจารย์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี เป็นที่ปรึกษา และ นางฉวีวรรณ คงแก้ว นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงในโครงการเจเอสทีพี




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com