ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล

ข้อมูลจาก www.manager.co.th

วิจัยพบ "สาหร่าย" ซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าต้นไม้ 8 เท่า "โรงไฟฟ้าราชบุรี" เตรียมพื้นที่นำร่อง 6.2 ไร่ ผันก๊าซจากปล่องควันลงน้ำ ให้ CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตพลังงาน อีก 3 ปีพร้อมขยายเชิงพาณิชย์ ทางด้าน “บางจาก” จะผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย 30,000 ลิตรต่อวัน
       
       นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้ศึกษาวิจัยเพาะเลี้ยงสาหร่าย โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ จาก ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และ ม.แม่โจ้ ซึ่งจากผลการวิจัยนั้น เห็นว่าสาหร่ายมีความสามารถดูดซับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพื่อการเจริญเติบโตได้จริง โดยสาหร่าย 1 ไร่ สามารถรับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 8 เท่าของปริมาณที่ต้นไม้ 1 ไร่ดูดซับไว้ได้ นับว่าเป็นปริมาณที่สูงกว่ามาก
       
       ทั้งนี้ นายนพพลกล่าวว่า ได้เตรียมพื้นที่บริเวณใกล้โรงไฟฟ้า ประมาณ 6.2 ไร่ เพื่อเตรียมความพร้อม เพื่อนำก๊าซปล่อยทิ้ง ที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ จากปล่องของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการเจริญเติบโตของสาหร่าย เพื่อจัดนำร่องให้กับโครงการความร่วมมือพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพจาก สาหร่าย โดยจะขยายไปสู่เชิงพาณิชย์ในอีก 3 ปี ข้างหน้าต่อไป
       
       ทางด้าน ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงจากสาหร่าย เป็น นวัตกรรมพลังงานทดแทนที่มีศักยภาพสูงมาก เนื่องจากใช้เวลาในการเพาะเลี้ยงเพียง 2 สัปดาห์ สามารถนำมาผลิตเป็นน้ำมันไบโอดีเซล หรือน้ำมันเครื่องบินได้ จากการที่สาหร่ายเป็นพืชที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้ผลผลิตน้ำมันต่อพื้นที่การเพาะเลี้ยงสูงถึง 30 เท่า เมื่อเทียบกับน้ำมันปาล์ม
       
       อีกทั้งตามข้อมูลที่ ดร.อนุสรณ์ได้จากจากมหาวิทยาลัยเจมส์คุก ประเทศออสเตรเลีย ยังระบุว่า น้ำมันสาหร่ายราคาอยู่ที่ประมาณ 120 เหรียญต่อบาร์เรล ซึ่งถูกกว่าน้ำมันดีเซล ที่ราคาประมาณ 130 เหรียญต่อบาร์เรล และหากเทียบกับนำมันไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มราคาจะอยู่ที่ 160-170 เหรียญต่อบาร์เรล
       
       "ถ้ามองในจุดนี้จะเห็นว่าน้ำมันจากสาหร่ายมีศักยภาพ ราคาถูกกว่าน้ำมันปาล์ม นอกจากทำน้ำมันได้แล้ว ในส่วนของกากสาหร่ายยังนำไปผลิตเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ได้อีกด้วย" ดร.อนุสรณ์กล่าว
       
       ทั้งนี้ เป็นการเปิดเผยระหว่างการลงนามบันทึกความร่วมมือ “การพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย” โรงแรมโซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 54 ที่ผ่านมา โดยมี
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกระทรวงพลังงาน ร่วม บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)บริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนาม
       
       อีกทั้ง จากบันทึกความร่วมมือนี้ มีเป้าหมายในการพัฒนาโครงการให้เป็นระดับเชิงพาณิชย์ ภายใน 3 ปี โดยจะสร้างโรงงานผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจากสาหร่ายให้ได้ 30,000 ลิตรต่อวัน ขนาดพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท


เรื่องราวของการนำสาหร่ายมาผลิตไบโอดีเซล พลังงานทางเลือกจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆ

จาก http://www.vcharkarn.com

Keith Cooksey นักไมโครชีววิทยา จาก Montana State University ได้ศึกษาเรื่องการที่จะนำเอาตะไคร่น้ำ สาหร่าย (Algae) มาเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงดีเซลมาตั้งแต่ปี 1980 พร้อมๆกับนักวิจัยจำนวนมากที่พยายามจะหาคำตอบในการที่จะทำให้สิ่งมีชีวิต ขนาดเล็กกลายเป็นแหล่งพลังงานขนาดใหญ่ 


สิ่งมีชีวิตจำพวกตะไคร่ น้ำและสาหร่ายนี้ จะมีทั้งเมือกและส่วนที่เป็นน้ำมัน ทำให้เรารู้สึกลื่น เวลาสัมผัส เมื่อเข้าสู่ห้องวิจัย ทีมงานของ Keith Cooksey ก็ได้มุ่งหน้าหาคำตอบว่าทำอย่างไรจึงจะทำให้สาหร่ายเหล่านั้นผลิต ‘น้ำมัน’ ได้เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ พวกเขาก็ได้พัฒนาสีย้อมชนิดหนึ่งเรียกว่า Nile Red ซึ่งเมื่อนำเอาสาหร่ายมาย้อมสี แล้วฉายด้วยแสงฟลูออเรสเซนต์ พวกเขาก็สามารถจำแนกส่วนที่เป็นน้ำมันออกจากคลอโรฟิลล์ได้

นาย Keith Cooksey กล่าวว่า “สาหร่ายเหล่านี้งอกงามในบ่อบำบัดน้ำเสีย หรือบ่อน้ำทิ้งที่มีเกลืออยู่ในปริมาณสูง และถ้าหากจะเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ก็น่าจะเป็นชายฝั่งทะเล (แถบแคลิฟอเนียร์)” เพราะสาหร่ายจะเจริญเติบโตได้ดีในน้ำเค็ม หรือแม้กระทั่งในทะเลทราย ซึ่งน้ำใต้ดินเป็นน้ำเค็ม

จากรายงานประจำปีของสถาบันวิจัยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy Research Institute) เมื่อเกือบ 25 ปีที่แล้ว รายงานว่า “น้ำมันจากสาหร่ายนั้นมีความเหมาะสมต่อการนำมากลั่นเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง” และในช่วงขาดแคลนน้ำมันปิโตรเลียม เชื้อเพลิงทางเลือกจากการสกัดน้ำมันจากสาหร่ายก็ได้ถูกหยิบขึ้นมาใช้เพื่อ แก้ไขสถาการณ์

เทียบกับพืชชนิดอื่นๆแล้ว เมื่อนำมากลั่นเป็นไบโอดีเซล ถั่วเหลือง จะให้น้ำมัน 50 แกลลอน ในขณะที่แคนโนล่า (พืชน้ำมันชนิดหนึ่ง) ให้น้ำมัน 130 แกลลอน ส่วนสาหร่ายนั้นให้น้ำมัน 4,000 แกลลอน ในระยะเวลา 1 ปี ในพี้นที่การผลิต 1 เอเคอร์เท่ากัน แถมสาหร่ายนั้นยังต้องการเพียงแค่แสงอาทิตย์และน้ำทิ้งที่ไม่เหมาะสำหรับ การบริโภค เท่านั้น ในบ่อทดลอง พบว่าสาหร่ายเล็กๆเหล่านั้นสามารถเจริญเติบโตได้แม้จะอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส

ใน ขณะสาหร่ายเซลล์คู่หรือ ไดอะตอม (diatom) และแพลงตอนชนิดอื่นๆที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ (phytoplankton) ก็สามารถดูดซับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่น้ำ หรือในมหาสมุทรมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงเช่นเดียวกับต้นไม้ แต่แพลงตอนทั้งหมดที่อยู่ในท้องทะเลนั้น สามารถกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้มากพอๆกับต้นไม้ ทุกต้นในโลกรวมกัน (เราต้องไม่ลืมไปว่า โลกมีส่วนที่เป็นน้ำหรือมหาสมุทรอยู่ตั้ง 2 ส่วน)

ในขณะที่บริษัท เชลล์ (Royal Dutch Shell and HR Biopetroleum) ได้แถลงข่าวเรื่องการก่อสร้างห้องปฏิบัติการบนเกาะ Kona ในฮาวาย เพื่อเพาะปลูกสาหร่ายทะเลสำหรับการวิจัยเรื่องไบโอดีเซล เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ของปีที่แล้ว

ไม่เพียงพลังไบโอดีเซลจากสาหร่ายจะช่วยลด ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะถูกปล่อยออกไปในชั้นบรรยากาศ (หากไบโอดีเซลจากสาหร่ายได้รับการยอมรับและนำมาพัฒนาเพื่อใช้งานอย่างจริงจัง)เท่านั้น แต่ด้วยตัวของมัน ที่สามารถขจัดคาร์บอนไดออกไซด์ทางตรงด้วยการสังเคราะห์แสงได้อีกด้วย ไม่แน่ว่า ประเด็นโลกร้อนอาจจะเป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขา....!


73408

 




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com