ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร

ข้อมูลจากเวปไซท์ : www.bangkokbiznews.com

ภาพ: อนันต์ จันทรสูตร

ผู้หญิงชุดชมพูคนนี้ เป็นทั้ง"หมอยา"และ"หม้อยา"ที่พาสมุนไพรอภัยภูเบศร์ให้เข้าไปอยู่ในตู้ยาสามัญประจำบ้านของใครหลายคน เบียดชนยาฝรั่งจนหล่นตู้ 

 

ในวันที่หวัดสารพัดสายพันธุ์รุมเร้าคนไทย สินค้าหมวดอนามัยกลายเป็นเบสเซลเลอร์ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากาก/ผ้าปิดจมูก เจลล้างมือ น้ำยาฆ่าเชื้อ รวมไปถึงหมวดป้องกันอย่าง "ฟ้าทะลายโจร" ที่ถึงขั้นขาดตลาด เพราะสรรพคุณพื้นฐานป้องกันหวัดได้ชะงัดนักแล ทั้งยังเป็นสมุนไพรไทย รับรองความปลอดภัยไปในตัว


โดยเฉพาะถ้ายาขวดนั้นส่งตรงมาจากปราจีนบุรี แปะฉลาก "อภัยภูเบศร์" ที่ชื่อชั้นไม่แพ้ยาเทศ จนแย่งส่วนแบ่งมูลค่าในตลาดมาได้กว่า 200 ล้านบาทต่อปี

 

ยาดีของไทยหลายสูตรหลายขนานนี้จะไม่ทีทางแจ้งเกิดได้ถ้าขาด "หมอยาหญิง" คนหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของรางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2553

 ตำแหน่งทางวิชาชีพคือเภสัชกร แต่โดยรากเหง้า หัวหน้าโครงการสาธิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ สุภาภรณ์ ปิติพร หรือ ต้อม เป็นลูกสาวชาวนาจากนครนายก ที่ชีวิตได้ดิบได้ดีเพราะความมองการณ์ไกลของแม่และ "หม้อยาอาอึ้ม"

 
"หม้อยาอาอึ้ม" มาจากไหน

แม่เห็นเราเรียนเก่ง แต่เป็นชาวนา เลยคิดว่าจะทำยังไงให้ลูกได้เรียนหนังสือ เลยเอาลูกไปฝากกับเพื่อนที่เป็นคนจีน เราเรียกเขาว่า "อาอึ้ม" กินนอนกับเขาตั้งแต่ป.7 -มศ.1 ช่วยเขาขายของ ตอนไปอยู่ใหม่ๆ เราสังเกตว่าหน้าบ้านของคนจีนจะมีกระถางยา เขาบอกว่า เวลาอพยพลงเรือก็เอาติดมาด้วย เพราะไม่รู้ว่ามาเมืองไทยจะหาจากที่ไหน ที่เห็นก็มีเสลดพังพอน ฟ้าทะลายโจร

 
ตอนเราเป็นหวัด อาอึ้มต้มฟ้าทะลายโจรให้กิน แล้วเทใส่ชามตราไก่ให้ ขมปี๋เลยนะ ถือเป็นสมุนไพรถ้วยแรกที่กิน  ในช่วงที่มีไข้หวัด 2009 ฟ้าทะลายโจรถูกนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นทางออกอีกครั้ง เราก็กลับมามอง "หม้อยาอาอึ้ม" มันเป็นประสบการณ์สะสม สะสมเหมือนการเดินลงทะเล มันจะค่อยๆ เห็นผล แม้วันที่เป็นเภสัชกรแล้ว เราก็เห็นหมอยาที่มีความรู้มากมาย เห็นการต้มกิน  เห็นผลจริง เห็นชาวบ้าน เห็นวิถีชีวิตชุมชนอย่างนี้ เรามีความเชื่อมั่น

 

แต่เลือกเรียนเภสัชเป็นอันดับ 2 รองจากแพทย์?

เหมือนคนทั่วๆ ไปที่ต้องการความมั่นคงของชีวิต แต่เมื่อเราได้รับวิชาชีพนี้มาแล้ว เราค้นพบว่าตัวเองทำให้วิชาชีพเป็นประโยชน์ได้  ทั้งประโยชน์ตนละประโยชน์ท่าน

 

มาเริ่มงานที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศน์เลย ?

 ค่ะ

  

อะไรคือจุดที่ทำให้สนใจสมุนไพร

ไปสอนชาวบ้านแล้วพบว่าชาวบ้านคุยกันงึมงำๆ เอ๊ะ เขาคุยอะไรกัน เขาพูดถึงต้นไม้ที่เราไม่รู้จัก เขามีความรู้มากกว่าเราตั้งเยอะ อยากรู้ไงเลยตามไปหาหมอยา เจอหมอยาทักต้นไม้เหมือนทักคน ยิ่งสงสัยว่าทำไมรู้จักต้นไม้ทุกต้นเลย ทั้งหญ้าปากควาย หญ้าคมบาง หญ้าบาดดูก คือคมบาดถึงกระดูก เกลือด่างไว้ทำน้ำด่าง หญ้าหนอนตาย ชาวบ้านเอาไปใส่หนอนในไหปลาร้าให้มันตาย

 
มันมีองค์ความรู้เหล่านี้อยู่ในขณะที่เราซึ่งถูกตัดขาดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมด้วยระบบการศึกษาแผนใหม่ เราไม่ได้รู้ว่าเรามีอะไร นี่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ


ตั้งใจไปสอนชาวบ้าน แต่เขากลับสอนเรามากกว่า?

 (พยักหน้า) ยาตัวโน้นแก้อะไร ตัวนี้แก้อะไร ท่องไปไม่เคยใช้หรอก ท่องเป็นตารางเหมือนนกท่องแต่ชาวบ้านเขาใช้จริง เขารู้เรื่องเกี่ยวกับน้ำมันจากกะลามะพร้าว เราบอกน้ำมันมะพร้าวรึเปล่า เขาบอกไม่ใช่ เป็นน้ำมันจากกะลามะพร้าว เราก็หัวเราะกันเอิ๊กอ๊ากๆ ยังถามเขาว่าใช้ได้จริงเหรอ แต่ชาวบ้านใช้แก้สังคัง (เชื้อราในร่มผ้า) ตอนหลังเราถึงไปค้นพี่ก็พบว่าในนั้นมันมีสาร "ฟีนอล" ซึ่งอยู่ในซีม่าโลชั่น

เภสัชกรจึงเป็นตัวเชื่อม 2 โลก คือ วิทยาศาสตร์ (โรคภัยไข้เจ็บ,อาการ) กับภูมิปัญญาไทย (สมุนไพรไทย) นำมาพัฒนาควบคู่กันจนได้เป็นยาสมุนไพรออกมา 

 

ย้อนกลับไปสมัยเรียนเภสัช สายงานมีทั้งเอกชนและรัฐบาลให้เลือก ทำไมจึงเลือกอย่างหลัง

 ธรรมชาติตัวเองเป็นคนชอบความรู้  มีความสุขที่ได้อ่านหนังสือ เอาตรงนี้มาช่วยเพื่อนทางวิชาการ สำหรับตัวเองมันคือความสุข 

 
ตอนนั้นเภสัชก็มีทางเลือกค่อนข้างเยอะ ตัวเองตัดสินใจไปทำงานที่บ้านนอก ส่วนหนึ่งคือใกล้บ้าน  ตอนนั้นโรงพยาบาลยังไม่มีตำแหน่ง แต่ก็ไป

 เราเองก็มีเพื่อนเป็นเซลล์ เป็นผู้จัดการใหญ่ๆ  ของบริษัทยาฝรั่ง เขาก็เป็นโค้ชให้เราในการทำธุรกิจเพื่อสังคม  เขามีมุมมองเพื่อสังคม ทุกวันนี้ก็ทำกิจกรรมด้วยกัน เพื่อนๆ อาจจะเห็นว่ามาทำอย่างเรามันเหนื่อย  ขณะเดียวกันเขาเองก็มีความจำเป็นทางบ้านที่จะต้องไปทำงานเอกชน แต่จิตสาธารณะเขาก็มีอยู่  ถึงเขาอยู่ในอาชีพที่เหมือนไม่ได้ทำประโยชน์ แต่เขาก็ยังทำงานช่วยเด็กอ่อน ไปทำประโยชน์อื่นๆ นอกเหนือจากงานเขา

ยอมรับว่าตัวเองอายเรื่องขายของ พอเราทำสมุนไพรออกมาขายแต่ไม่กล้าขาย ก็ได้เพื่อนเนี่ยแหละ ถามว่า "แกรู้สึกว่าของแกดีไหม  ถ้ารู้สึกว่าของแกดีทำไมไม่อยากให้คนอื่นใช้ของดีๆ บ้าง" จากคำพูดนี้ ทำให้เรายืนขายของได้

ถึงแม้ว่าเภสัชมีความแตกต่าง แต่ในความเป็นมนุษย์มีความดีความงาม แม้ว่าเขาจะต้องไปทำบทบาทอื่นๆ เพราะเงื่อนไขชีวิตเขาเป็นแบบนั้น แต่ในมิติหนึ่งเขามีความเป็นมนุษย์ ได้ทำหน้าที่เกื้อกูลประโยชน์ตนประโยชน์ท่านในวิถีอื่นๆ

 

เริ่มต้นเคลื่อนงานสมุนไพรในโรงพยาบาลได้อย่างไร

จริงๆ แล้วมันเป็นความโชคดี  ตอนนั้น ผอ.รพ. คือคุณหมอสำราญ สงบจิต  แกจะเป็นคนใจดี ให้เกียรติคนอื่น  และคอยบอกว่า "ทำอะไรก็ได้แต่อย่าให้ผมเดือดร้อน"


เราเห็นผนังโรงพยาบาลว่างๆ ก็จัดการตอกรูปสมุนไพรแขวนไป แปะโปสเตอร์ต้นไม้ ทำผนังเขาพังหมด ตรงไหนว่างก็ปลูกสมุนไพร เอาป้ายปัก ผู้อำนวยการคนอื่นเขาคงว่านะ แต่ผู้อำนวยการคนนี้ไม่ว่า  แต่พอจะเริ่มทำยาแล้วงบประมาณไม่มี เลยเอาพวกของเหลือเช่น แกลลอนพลาสติก เศษกระดาษที่เหลือใช้ไปขาย แล้วเอาไปซื้อเครื่องทำแคปซูล ใช้วิธีขายของเพื่อทำยา มาเรื่อยๆ

 

 ยาตัวแรกที่ทำคือ สเลดพังพอน เพราะได้โจทย์มาจากหมอเด็กในโรงพยาบาลว่า อยากรักษาเด็กที่เป็นเริมในปาก เด็กตัวผอมมากกินอะไรไม่ได้เลย  ตอนนั้นเรานึกถึงว่านมหากาฬแต่ต้องใช้สด ครั้นจะตำทาในปากสดๆ ก็คงไม่เวิร์ค จะเปลี่ยนไปใช้สเลดพังพอนตัวผู้ก็ต้องดองใส่แอลกอฮอล์  หรือสเลดพังพอนตัวเมีย ใบเยอะหนามก็เยอะ ใบตำลึงก็ใช้ได้แต่ต้องใช้สด  ถ้าเกิดมีคนไข้มาเราจะทำสดๆ ใช้หรือ


สรุปแล้วมาลงตัวที่ เอาสเลดพังพอนตัวผู้กับตัวเมียที่ใช้ดองแอลกอฮอล์แล้วนำมาเคี่ยวกับน้ำมัน ปรุงออกมาแล้วลองเอาไปใช้กับเด็กๆ ปรากฎว่า  3 วันมันก็แห้งแล้ว อันนี้ก็เป็นงานวิจัยที่ได้มาโดยบังเอิญ แล้วเราก็ส่งไปวารสารเภสัช วารสารคลินิก ความรู้คู่หมอชาวบ้าน ฯลฯ เพื่อเผยแพร่ สร้างความเชื่อถือในระดับหนึ่ง


 ปีนั้น พ.ศ.2529 การที่เราทำแบบนี้เป็นงานชิ้นแรกเลย ที่เอาใบไม้ไปสกัดในรูปแบบสมัยใหม่ ในรูปของกลีเซอรีนครีม และมีการทดลองใช้ในโรงพยาบาลอำเภอ มีเจ้าหน้าที่มาอบรมเพื่อไปทำใช้ในโรงพยาบาล จากจุดนี้มีนักวิจัยไปขอทุน ต่อยอดเพื่อวิจัยเป็นความรู้อย่างกว้างขวาง 

 

จากจุดนั้น การนำยาตัวอื่นๆ ไปเผยแพร่หรือส่งต่อไปยังชุมชนโดยเฉพาะโรงพยาบาลอื่นๆ โดยอ้างอิงจากภูมิปัญญา แต่ขาดงานวิจัยรองรับ ...มีอุปสรรคมากน้อยแค่ไหน 

 

 เป็นเรื่องยากมากเพราะเรื่องการเอายามาใช้ในโรงพยาบาล  ต้องผ่านหลายด่าน  มียาหลายตัวที่เรารู้สึกว่าจะต้องส่งถึงชาวบ้าน  แล้วยาชนิดนั้นๆ ไม่มีการวิจัย เพราะการวิจัยส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อการค้า เช่น หญ้าใต้ใบแก้ปวดเมื่อย แก้ไข้ เป็นยาที่ดีมากเลยนะ ตระกูลเดียวกับมะขามป้อม แต่ถามว่าจะมีนักวิจัยคนไหนเอามันไปวิจัยเพื่อบอกว่ามันแก้ไข้ เพราะมันไม่มีมูลค่าทางการค้า 

 

คิดว่า อะไรทำให้สมุนไพรอภัยภูเบศร์ได้รับการยอมรับ

ความซื่อสัตย์ จริงใจที่จะรับใช้บริการชาวบ้าน ยกตัวอย่างเช่น ตอนนั้นที่หวัด 2009 ระบาด เราไม่อยากทำเจลขายเลยเพราะรู้สึกว่าการล้างมือดีกว่า  แต่น้องๆ บอกพี่ต้อมทำเถอะ เพราะบางทีคนก็ต้องการความสะอาดหลายแบบ 
 

ตอนที่เราทำเจลขาย เราก็บอกคนซื้อไปว่า เจลมันใช้ได้ 2-3 ครั้ง จริงๆ แล้วควรล้างมือดีกว่า คนซื้อบอกว่า เกิดมาก็เพิ่งจะเคยเห็นคนขายของที่ให้ข้อมูลตรงๆ  อย่างนี้ หลังจากนั้นเจลล้างมือก็ขายไม่ได้ คนเลิกใช้ แต่นั่นทำให้เรามีเครื่องมือสื่อสาร

 

 หรืออย่างสเลดพังพอน เรารู้ว่ามันคือของจริง จากห้องทดลองที่เรียกว่าโลก ส่งผ่านมาจากอาจารย์ที่มีภูมิความรู้จริงๆ ทุกวันนี้ทุกคนพูดถึงแต่ภูมิปัญญา แต่ให้ไปหาหมอภูมิปัญญาจริงๆ ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาใคร ให้นักวิชาการไปเก็บภูมิปัญญา คุณยังไม่รู้เลยว่าอะไรคืออะไร ดังนั้นการเก็บภูมิปัญญาเป็นเรื่องชีวิตต่อชีวิต ไม่ใช่เก็บแล้วตัดขาด มันเป็นความรู้ที่เชื่อมต่อกัน

 

 ที่อภัยภูเบศร์เป็นผู้นำได้เพราะเราจับอะไรที่มันใช่ เช่น สบู่ว่านหอมหรือเปราะหอม เราทำมาตั้งนานแล้ว เพราะเราเห็นชาวบ้านเขาใช้ใส่ในแป้ง รักษาสิวฝ้า เราจึงเอามาใส่ในแป้งพัฟ ในสบู่เป็นสิบปีแล้ว

 

เมื่อปีที่แล้ว ในสหรัฐอเมริกาเขาพูดถึงเปราะหอม ที่มีสรรพคุณยืดอายุสารกันแดด ปกติสารกันแดดเมื่อโดดแดดมันจะทำลายเซลล์ของมัน แต่เปราะหอมจะไปทำให้สารกันแดดอยู่นานขึ้น เป็นตัวแอนตี้ออกซิไดท์ ป้องกันการทำลายของสารกันแดดที่มีต่อผิว ทำให้เรายิ่งเชื่อมั่นในคำว่าภูมิปัญญาดั้งเดิม  ว่าถ้าเพียงแต่เราแกะรอย เราจะได้ทรัพย์สินที่สำคัญ แต่เราต้องหาทางสืบสานและคิดค้นกลไกที่จะเชื่อมโยงกับโลกสมัยใหม่โดยกระบวนการที่เรียกว่าวิทยาศาสตร์

 

เรามีคลังของภูมิปัญญา ทั้งการออกfiled หรือผู้เฒ่าผู้แก่ทิ้งตำราไว้กับเรา ซึ่งเราคิดว่าเป็นภารกิจที่หนักหนาสาหัสมากที่ต้องทำสิ่งนี้เพื่อให้เขาไม่ผิดหวัง อีกอันหนึ่ง เราเชื่อในความเป็นเภสัชกรของเรา เราเคารพในวิชาชีพของเรา แคปซูลที่เรากินทุกวัน มันไม่ควรมีสารกันบูด เราไม่ได้ใช้ ถามว่าพี่บริโภครู้ไหม ก็ไม่รู้ แต่พอกินแล้วเขารู้สึกได้ถึงความแตกต่าง แต่ให้อธิบายก็ไม่ถูก อาจเป็นความเชื่อก็ได้

 

เรายอมลงทุนเรื่องการหาเชื้อ หาสารสำคัญ ถ้าเกิดมันเสียจริงก็ทิ้งจริง เราทำตามความรู้ที่เราได้เรียนมาเพื่อเป็นเภสัชกร ตั้งแต่การควบคุมอุณหภูมิ การสกัดสาร การทำให้เป็นตำรับ เช่น มะขามป้อม ที่ออกมาเป็นครีมบำรุงเอมบลิกาพลัส ยาอม ยาน้ำแก้เจ็บคอ (ยอดขายอันดับ1ของอภัยภูเบศร์) เราเอาความรู้เรา มาทำให้สมุนไพรมีมาตรฐาน และสืบสานในสังคมสมัยใหม่

 

ฉะนั้นสิ่งที่เราทำคือ นำภูมิปัญญาที่มีรากเหง้า ใส่ความรู้ทางเภสัชกรรม ความรู้ในการศึกษาวิจัย และสื่อสารออกไปด้วยภาษาที่คนรุ่นใหม่ยอมรับ โชคดีที่เราได้ทีมงานใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการสื่อสาร เพราะการสื่อสารสำคัญมาก ส่วนหนึ่งที่อภัยภูเบศร์เป็นผู้นำได้เพราะเราสื่อสารได้ เรายินดีที่จะบอกเล่าและสื่อให้เห็นคุณค่า แต่ไม่ใช่เพราะเราอยากมีตัวตน เราอยากให้สิ่งที่เราคิดเราเชื่อถูกแบ่งปัน เหมือนเรากินอะไรอร่อยอยากให้คนอื่นได้กิน อ่านหนังสือดีแล้วบังคับให้เพื่อนอ่าน แล้วหนังสือเราก็หายเพราะมันเอาไปดอง (หัวเราะ)

 

หมายความว่าภูมิปัญญาไทยต้องใช้คู่กับวิทยาศาสตร์?

ถ้าจะนำกลับมาต้องมีภูมิปัญญาไทยที่แข็งแรง คุณจะพิสูจน์ยังไงมันก็เป็นของจริง เราไม่เคยปฏิเสธวิทยาศาสตร์  และรู้สึกว่าความเป็นเภสัชกรของเรานี่แหละ ทำให้ภูมิปัญญาไทยกลับมาสู่สมัยใหม่
 

ต้องระลึกไว้เสมอว่า การกิน-ใช้สมุนไพรในปัจจุบัน ไม่ได้กินใช้จากนโยบายรัฐบาล หรือ จากความจำเป็นของประเทศ คือเรายังมียา ยังไม่ถึงกับตายถ้าไม่มีสมุนไพร แต่โลกทั้งโลกได้เคลื่อนมาสู่การแพทย์แผนตะวันออก การแพทย์ทางเลือกแล้ว ฉะนั้นพลังของผู้บริโภคจะเกิดการผลักดัน ข้อมูลข่าวสารเกิดการแลกเปลี่ยนกัน

ในส่วนของประเทศไทย ควรจะเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองมี ไม่เป็นเหยื่อของตลาดที่มาพร้อมกับกลไกการตลาด ที่พร้อมจะขายความคิดความเชื่อตัวนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องกลับมามองฐานของบ้านเรา แล้วอาศัยจังหวะนี้ พอลมพัดมาปุ๊บ เราก็ส่งว่าวขึ้นไป แต่ต้องเตรียมว่าวไว้ให้พร้อมนะ 

 

ให้ความสำคัญกับสิทธิบัตรมากน้อยแค่ไหน

ไม่มีทางไปสู้เขาได้ (ตอบทันที) กว่าจะเข้าถึงขั้นตอนนั้นได้ ผ่านด่านเยอะมาก  เขาจะจดเป็นสารตัวใดตัวหนึ่งก็จดไป ช่างมัน เพราะเรายังไปไม่ถึง แต่เมื่อไรที่จดเรื่องพันธุกรรม ก็ต้องสู้ เป็นเรื่องใหญ่


มีตำรายาจากผู้เฒ่าผู่แก่มาฝากไว้ที่อภัยภูเบศร์เยอะไหม

ตอนนี้มีประมาณ 500 เล่ม ทั้งเขียนด้วยลายมือ ตำราเก่าที่พิมพ์ไว้ ตำราที่จารไว้ในใบลานกับสมุดข่อย เรากำลังวางระบบการแปล บางอันแปลได้ แต่บางอันเป็นคาถา แต่ไม่ใช่ว่าคาถาไม่มีความหมาย ตอนแรกเราก็คิดว่าคาถาไม่ใช่ตำรายา พอตอนหลังได้ไปอ่านหนังสือเรื่อง Messages from Water มีนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ชอบส่องกล้อง ชอบไปถ่ายรูปผลึกน้ำ ที่ลบ 5 องศา

ผลึกของเอชทูโอ(ชื่อทางเคมีของน้ำ) ควรมีผลึกเหมือนกัน แต่มันดันไม่เหมือนกัน บางอันสวย บางอันบูดเบี้ยว มีการทดลองตั้งแต่เอาไปฟังเพลงร็อค แล้วผลึกเบี้ยว แล้วพอไปฟังเพลงเรียบง่าย ผลึกที่ได้กลับสี่เหลี่ยมแปดเหลี่ยมสวยปิ๊งเลย ฟังเพลงบีโธเฟน ก็ผลึกสวย  

มันไวกับคำ เช่น คำว่ารักและขอบคุณ เราเขียนด้วยหมึกแล้วเอาแก้วน้ำไปวางแล้วส่อง มันรับรู้ได้ และเสียงสวดมนต์ทำให้ผลึกที่เคยบิดเบี้ยวเปลี่ยนเป็นสวยงามได้ นั่นแสดงว่า คำสวดมีผล เช่น ต้องพูดสิ่งดีๆ นะ ต้องพูดสิ่งที่เป็นมงคล 

 

 

มันพิสูจน์ได้เพราะน้ำในร่างกายเรามีตั้ง 70 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นคำสอนต่างๆ มีผล และทำให้เราเข้าใจว่าทำไมพ่อหมอถึงสวดแล้วสวดอีก ฉะนั้นเสียงสวดสำหรับเรา ไม่ใช่แค่บทสวดหรือคาถาที่เป็นไสยศาสตร์อีกต่อไป

แล้วถ้าเอาคาถาเหล่านั้นผลิตออกมาเป็นยาของอภัยภูเบศร์ มันจะออกมายังไง

 หนึ่ง เราต้องฟื้นทั้งขบวน คือ ฟื้นขบวนการสวดมนต์ถ้าเราจะทำโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย ลูกศิษย์ของเราจะต้องเคารพในความเป็นมนุษย์ ต้นไม้ รุกขเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา เพราะตัวของเขาต้องเหนี่ยวนำจิตวิญญาณของคนอื่นๆ ด้วย เขาจึงต้องเข้าใจในบทสวด นี่คือสิ่งที่คิด คือ ถ้าจะฟื้น ฟื้นที่ตัวบุคคล

เรามีความเชื่อเรื่องนี้ พื้นฐานเป็นเด็กบ้านนอก พอมาอยู่กับวิทยาศาสตร์ก็มีบางช่วงที่เราคิดแบบวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อเรากลับไปหาหมอยาพื้นบ้าน สิ่งที่อยู่ในวัยเด็กของเราก็ได้เชื่อมประสาน เหมือนมุมมองเราต่อต้นไม้ ต่อสสาร ต่อสิ่งต่างๆ เปลี่ยนไป เดิมทีแบบวิทยาศาสตร์เรามองสิ่งนั้นแบบไม่ได้ใส่ใจ


แต่พอมาสนใจหมอยาพื้นบ้าน เรารู้สึกสัมพันธ์ต่อสิ่งต่างๆ เลย  ไม่ใช่ในแง่กายภาพอย่างเดียว มันสัมพันธ์ข้างในด้วย มันทำให้เรามีความสุข โดยไม่ต้องผ่านวัตถุ แต่ผ่านการได้เห็นพืชพรรณ ไม่รู้อธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ได้หรือเปล่า แต่ทำให้มุมมองของเราเปลี่ยน

อย่างตำรานางผมหอม ที่ใช้ทำแชมพู ได้จากการนั่งสมาธิแล้วเขียนสูตร ทุกคนบอกว่าเป็นไปได้เหรอ แต่เราก็ไม่มีคำอธิบายว่าทำไมเขียนสูตรนางผมหอมออกมา แล้วก็ดีมากด้วย หลายเรื่องของการทำงาน คนอื่นอาจมีมิติของความเป็นเภสัชกร แต่สำหรับเราเรามีมิติของหมอยาพื้นบ้านในตัวเองด้วย 

 

ทุกวันนี้คุณมีโรคภัยไข้เจ็บอะไรบ้าง 

 ไม่ค่อยป่วย เพิ่งเป็นหวัดหลังจากไม่ได้เป็นมานานมาก ความที่แข็งแรง ไม่เคยป่วย จนประมาท ไปเจออากาศเย็นไม่ทำให้ร่างกายอบอุ่น เลยเป็นหวัด   ตัวเองแก่แล้วแต่ไม่คิดว่าตัวเองแก่ไง (หัวเราะ) 

 

มีคนบอกว่าให้ดูแลตัวเองเยอะๆ กินยาแต่น้อยๆ ส่วนตัวคุณดูแลตัวเองอย่างไร

 

 เราไม่ได้บอกว่ายาไม่จำเป็น ในช่วงที่ร่างกายเราแย่มากๆ ร่างกายเราต้องการตัวช่วย และความรู้เรื่องสมุนไพรบางครั้งยังอาจจะมีไม่พอ ก็ต้องใช้ยา แต่ใช้เมื่อจำเป็นจริงๆ และไม่ควรกินพร่ำเพรื่อ

 

แล้วชาวบ้านคนปลูกสมุนไพร ต้มยากินเองมากน้อยแค่ไหน 

 ทุกวันนี้โดยมากเขาก็ยังไม่คิดจะใช้เอง คิดแต่จะขาย นี่คือปัญหาสำคัญ แต่ก็เข้าใจได้เพราะเขาไม่ได้มีทางเลือกมากนัก

 

เพราะอะไร 

 เรา(ประเทศไทย)สูญเสียความเชื่อมั่น ศักยภาพ เราไม่เคยต้มยามานานมากแล้ว ต้มไม่เป็นเลยตอนนี้ อาจเพราะไม่สะดวกไม่เคยชิน แต่ชาวบ้านที่ดงบัง เขาหันมาต้มยากินกันมากขึ้นนะ มันฟรีด้วยไง แต่ตอนประกันสุขภาพถ้วนหน้า ไม่ยอมต้มยากินเองก็เยอะ เรียกว่าไม่มีความจำเป็นแล้ว แต่ถามว่าถ้าวันหนึ่งน้ำท่วม ถูกตะขาบกัด เราจะทำไปรักษายังไง เราพึ่งตัวเองไม่ได้แล้ว

 

เหมือนคนปลูกไม่ได้กิน คนกินไม่ได้ปลูก

 คล้ายๆ อย่างนั้นแต่เราพยายามฟื้นฟูทั้งกระบวน

 
 เราเชื่อว่าสิ่งที่คนไทยมีคือความอ่อนโยน ความเป็นมิตร น้ำใจ และความเป็นมนุษย์เกิดมาเพื่อสร้างความรัก ความผูกพัน และความสดใส

 สมัยก่อนตอนได้ทุนไปอินเดีย เราไปด้วยความรู้สึกที่ว่าอินเดียเก่งกว่าเรา เขาสู้เรื่องยากับอเมริกา ยุโรป เก่งมาก นักวิชาการเขาอ่านมหาภารตะยุทธ์แล้วไปสู้ในศาลโลกเลย แต่คนอินเดียเขาทิ้งกัน  ต่างชนชั้นก็แทบจะกลายเป็นตัวเชื้อโรค เราไม่มีความสุข แต่พอเรากลับเมืองไทย รู้สึกสบาย โล่ง รักเมืองไทยจังเลย

เราไปทำวิทยาศาสตร์แข่งกับเขาไม่ได้หรอก แต่เรามีทุนคือความเป็นคนไทย ฐานความรู้ด้านสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย เราจะเป็นมหาอำนาจแห่งการเยียวยาทำให้คนมีความสุข เพราะสิ่งที่มนุษย์ต้องการไม่ใช่แค่ปัจจัย 4 แต่มนุษย์ต้องการความความรัก ต้องการการเยียวยา

 

 




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com