ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


ชีวมวล

ชีวมวลแบบซามูไร

 

     ช่วงเดือนกันยายน เป็นช่วงที่นักวิชาการ  และผู้บริหารของกรมวิชาการเกษตรหลายท่านเดินทางไปปฏิบัติราชการในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศ  และการติดตามผลการดำเนินงานที่มีร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์  รวมทั้งงานด้านความปลอดภัยทางอาหาร   ระบบการควบคุมสารเคมีทางการเกษตร และการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

 

       ประเด็นหนึ่งที่นานาประเทศให้ความสำคัญ และกรมวิชาการเกษตรเองจะต้องรับผิดชอบเรื่องดังกล่าวด้วย นั่นคือ การพัฒนาพลังงานจากพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ  ซึ่งประเทศในแถบเอเชียที่ให้ความสำคัญและเป็นโต้โผใหญ่ของการพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าวคงไม่มีใครเกินประเทศญี่ปุ่น  สถานที่ที่ทำให้เกิดพิธีสารโตเกียว  ผู้นำแห่งการลดก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้น  

 

ท่านผู้อ่านคงทราบกันดีว่าพลังงานทดแทนเพื่อใช้แทนพลังงานที่ได้จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน โดยเฉพาะพลังงานจากสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะค่อนข้างหลากหลาย  และมีแนวทางในการพัฒนาที่แตกต่างกัน สำหรับ “ฉีกซอง” ฉบับนี้จะนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสพลังงานจากชีวมวล หรือ Biomass ผ่านแนวคิดแบบญี่ปุ่น ญี่ปุ่น โปรดติดตาม

 


นาข้าว ด้านหน้าของโรงงาน Yamada Biomass

 

 

ทำไมต้องชีวมวล

 

 

 

        MAFF หรือ Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries  เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการเกษตร ป่าไม้ และประมง และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพลังงานทดแทนของรัฐบาล ซึ่งมีหน่วยงานระดับกระทรวงร่วมกันทำงานถึง 7 หน่วยงาน (คล้ายๆ กับการบูรณาการเรื่องดังกล่าวในประเทศไทย)

 

สาเหตุหลักของการแสวงหาพลังงานทดแทน สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป  จากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก สาเหตุสำคัญมาจากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลอันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์  ทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม  ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลก และการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลกใบนี้ อีกทั้งพลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลดังกล่าวกำลังจะหมดไปในไม่ช้านี้  ดังนั้นการแสวงหาพลังงานทดแทนที่สามารถสร้างขึ้นมาได้ใหม่  เป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศได้อีกทางหนึ่ง

 

 ดังนั้น นักวิชาการจากทั่วโลกจึงให้ความสนใจต่อการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานจากแหล่งที่ไม่หมดสิ้นไป สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม   หรือแม้แต่พลังงานจากพืช    จนเกิดภาวะการแย่งกันระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน สร้างปัญหาให้กับรัฐบาลหลายๆประเทศในปัจจุบัน พลังงานทดแทนจากสิ่งมีชีวิต   จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Biomass

 

 

 

 


Mr. Aba ผู้นำของ Yamada Biomass กับผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมัก

 

 

Biomass หรือ ชีวมวล    มาจากคำสองคำ คือ Bio  หมายรวมถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมด  และ mass  หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งจำนวนมาก  ดังนั้น Biomass  จึงเป็นพลังงานที่มาจากสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมาก  แต่ไม่นับรวมถึงซากฟอสซิล

 

กระบวนการผลิต Biomass จะต้องผ่านกระบวนการสังเคราะห์แสงโดยมีแสง  คาร์บอนไดออกไซด์  และน้ำเป็นวัตถุดิบ  Biomass  จึงเป็นคาร์บอนที่เป็นกลาง ไม่เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับ
โลกในระหว่างช่วงวรจรชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากพืชได้ใช้คาร์บอนไดออกไชด์ในการสังเคราะห์แสง  และปลดปล่อยออกมาในกระบวนการผลิตเป็น
พลังงานหมุนเวียนในระบบการผลิตของพืชเอง  

 

ตัวอย่าง Biomass ที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้  ได้แก่ มูลสัตว์หรือของเสียจากการทำฟาร์มปศุสัตว์ เช่น น้ำล้างคอกปศุสัตว์ เป็นต้น เศษอาหารจากครัวเรือน ขี้เลื่อย เศษไม้จากการป่าไม้  ฟางข้าว     รวมทั้งพืชที่นิยมนำมาเป็นพืชพลังงาน เช่น พืชที่เป็นแหล่ง saccharine เช่น อ้อย sugar beet  พืชที่เป็นแหล่ง starch เช่น ข้าว ข้าวโพด และพืชที่เป็นแหล่งน้ำมัน เช่นถั่วเหลืองและ rapeseed เป็นต้น

 

 

 

ข้อมูลส่วนหนึ่งที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจ  คือ การนำ Biomass มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ  โดยในปี 2008    พบว่า ปริมาณมูลสัตว์มีราว 87 ล้านตัน ร้อยละ 90 นำมาใช้เป็นปุ๋ย..กระดาษที่ใช้แล้ว ประมาณ 36 ล้านตัน นำมาทำเป็นวัสดุอื่นๆ ประมาณร้อยละ 60  ส่วนที่เหลือไม่ได้ใช้ประโยชน์ ในขณะที่เศษอาหารมีประมาณ 19 ล้านตัน ถูกนำไปเป็นปุ๋ยและอาหารสัตว์ประมาณร้อยละ 25 เช่นเดียวกับเศษเหลือของพืชจากแปลง ที่ไม่สามารถ
บริโภคได้ นำไปเป็นอาหารสัตว์  รองคอกสัตว์ และปุ๋ย  ราวร้อยละ 30 เศษเหลือจากไม้ ประมาณ 4.7 ล้านตัน  ถูกนำไปใช้ประโยชน์ราวร้อยละ 70 

 

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามีปริมาณของชีวมวลอยู่อีกมากที่ยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์รุปแบบการใช้ประโยชน์จาก Biomass ในปัจจุบันที่ญี่ปุ่นดำเนินการอยู่ ประกอบด้วยการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  เช่น ปุ๋ยหมัก อาหารสัตว์ แท่งคาร์บอน เม็ดพลาสติก  หรือการนำมาผลิตเป็นพลังงาน เช่น ผลิตเป็น bioethanol biodiesel fuel และก้อนพลังงานจากไม้ (woody pallet) เป็นต้น

 

 

 

นโยบายซามูไร

 

 

          รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดนโยบายพลังงานทดแทน   โดยมองในภาพรวมทั้งระบบ      กล่าวคือ ได้ประกาศกลยุทธการเจริญเติบโตแนวใหม่ (New Growth Strategy)  ประกอบด้วยสาระสำคัญ 2 ประการ    คือ สิ่งแวดล้อมและพลังงานของชาติภายใต้แนวคิดสีเขียว   โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้มีการกระจายตัวระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้พลังงานผ่านระบบสารสนเทศ  เชื่อมต่อในระดับครัวเรือน   ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดดังกล่าว และ แนวคิดเมืองสิ่งแวดล้อมในอนาคต เป็นการนำแนวคิดการสร้างระบบการจัดการพลังงานในเขตเมือง ด้วยการใช้พลังงานทดแทนเพื่ออนุชนรุ่นต่อไป สนับสนุนเขตเมืองให้สร้างระบบพลังงานทดแทนการใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป

 

 


สำนักงานของ Motegi Biomass Town (กองไม้ด้านข้างเป็นวัตถุดิบอีกชนิดหนึ่งของโรงงาน)

 

 

          

 

นอกจากนี้  รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้จัดทำแผนเกี่ยวกับพลังงาน   โดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการควบคุมและเพิ่มประสิทธิภาพการ
จัดการพลังงานทดแทน    การผสมผสานการจัดการระหว่างพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา  เช่น ความร้อน พลังงานไฟฟ้า   ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 

 

ทั้งนี้ยังรวมถึงการจัดการระบบการขนส่ง การจราจร  และการติดต่อสื่อสารระหว่างกันให้เป็นระบบที่ใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุด รวมทั้งการสนับสนุนระบบการจัดการพลังงานในชุมชมให้เกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนนั้นๆ

 

สำหรับแผนงานพลังงานที่เกี่ยวข้องกับอาหาร  และชุมชนเกษตรกรรม  รัฐบาลญี่ปุ่นมีนโยบายส่งเสริมเกษตรอุตสาหกรรมและชุมชนเกษตรกรรม  ด้วยการสนับสนุนให้ใช้และผลิตพลังงานทดแทนจากแหล่งพลังงานทดแทนต่างๆ ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม  และพลังงานชีวมวล โดยให้ความสำคัญต่อแหล่ง
พลังงานทดแทนที่มีอยู่แล้วในชุมชนนั้นๆ   สร้างกระบวนการจัดการและระบบการผลิตพลังงานทดแทนให้เกิดความยั่งยืน และสร้างความก้าวหน้าในอาชีพให้กับเกษตรกรอีกด้วย

 

จากแนวนโยบายดังกล่าว  จึงได้เกิดกลยุทธ Biomass Nippon Strategy   ขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2002  เป็นการปกป้องไม่ให้เกิดสภาวะโลกร้อนขึ้น เนื่องจาก biomass เกิดมาจากคาร์บอนไดออกโซด์และปลดปล่อยคาร์บอนไดออกโซด์ออกมา จึงเท่ากับเป็นคาร์บอนที่เป็นกลาง    จึงเป็นทางเลือกทดแทนพลังงานที่ได้จากซากฟอสซิล    และยังเป็นการสนับสนุนสังคมแห่งการนำมากลับมาใช้ใหม่   เพราะ biomass คือของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและการบริโภค   ดังนั้นจึงสามารถลดของเสียที่เกิดขึ้นในชุมชนให้น้อยลง และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนได้ด้วย 

นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างอุตสาหกรรมและสร้างงานขึ้นมาใหม่ด้วยการใช้ประโยชน์จาก biomass เพื่อผลิตเป็นพลังงาน หรือวัตถุอื่นโดยคาดหมายว่าอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ดังกล่าวจะเป็นอุตสาหกรรมชั้นนำของญี่ปุ่นในอนาคต และยังคาดหวังว่าการใช้ประโยชน์จาก Biomass จะเป็นการสร้างประโยชน์ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับชุมชนเกษตรกรรมของญี่ปุ่น

 

 

 

ต่อมาในเดือนมีนาคม ปี  2006   รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับปรุงกลยุทธดังกล่าว   โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2010   จะต้องมี Biomass Town เกิดขึ้นในญี่ปุ่นไม่น้อยกว่า 300 เมือง  ด้วยการใช้ biomass จากฟางข้าว และเศษเหลือจากอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นปัจจัยหลัก  และสนับสนุนการใช้ biofuel ในประเทศ

 

สำหรับประเด็นด้าน biofuel  ยังคงมีปัญหาที่สำคัญ 2 ประการ ที่ต้องได้รับการแก้ไข  นั่นคือ การสนับสนุนการใช้ biofuel ส่งผลกระทบต่อราคาพืชอาหาร     โดยเฉพาะพืชที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต biofuel เช่น ข้าวโพด และ sugar beet เป็นต้น และปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มสูงขึ้น จากการกระบวนการผลิต biofuel   ถึงแม้ว่าหลายฝ่ายจะมองว่า biofuel  เป็นคาร์บอนที่เป็นกลาง  เช่นเดียวกับ biomass  แต่หลายฝ่ายก็ชี้ให้เห็นว่ากระบวนการผลิต การขนส่ง และการผลิตในโรงงานต่างก็มีการปลดปล่อยคาร์บอนออกมาเช่นกัน

 

 

 

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงต้องดำเนินนโยบายสนับสนุนให้ใช้ biofuel ต่อไปเนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่พึ่งพาอาหารจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการนำพืชอาหารมาผลิตเป็น biofuel จึงมิใช่แนวทางที่ดี รัฐบาลจึงสนับสนุนให้วิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์  cellulose   จากวัตถุดิบชนิดอื่นๆแทน รวมทั้งการประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์  เพื่อหาข้อยุติว่าการผลิต biofuel  จากวัตถุดิบแต่ละชนิด  ท้ายที่สุดแล้วมีการปลดปล่อยคาร์บอนออกมาเท่าใด เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่อย่างไร

 

 


        Woody Bio-plastic  ส่วนหนึ่งของโรงงาน Yamada Biomass    ผลิตภัณฑ์จาก Woody Bio-plastic                                                                      

 

แผนกลยุทธในปี ค.ศ. 2006 ดังกล่าว    มีหน่วยงานในระดับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 หน่วยงาน  ได้แก่  Cabinet Office  Ministry of Internal Affairs and Communications Ministry of Education  Ministry of Agriculture,  Forestry and Fisheries  Ministry of Economy and Industry Ministry of Land, Infrastructure, Transportation and Tourism  และ Ministry of Environment  โดยได้กำหนด Road Map   ในการดำเนินการร่วมกัน ด้วยการวิจัยและพัฒนาที่มีเป้าหมายเพื่อการลดค่าใช้จ่ายในการรวบรวมและการขนส่ง Biomass การพัฒนาพันธุ์พืชที่มุ่งเน้นการผลิต  เป็นพืชพลังงานที่สามารถให้เอทานอลสูง  และการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลจากฟางข้าวและเศษไม้ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาให้มีการผลิตเอทานอลจาก 30 KL ในปี ค.ศ. 2007  เป็น 50,000 KL    จากน้ำตาลและ Starch ในปี ค.ศ. 2011  และเพิ่มขึ้นเป็น 6 Million KL ในปี ค.ศ. 2030 โดยการใช้วัตถุดิบจาก Celluloses และพืชที่พัฒนาเพื่อเป็นพืชพลังงานโดยเฉพาะ

 

เมืองชีวมวลแบบจับต้องได้

 

          เป้าหมายการสร้าง  Biomass Town ของญี่ปุ่นให้ได้ครบ 300 แห่งในปี 2010   จากข้อมูล ณ เดือนกันยายน ปี 2010   มีจำนวน Biomass Town  เกิดขึ้นแล้ว รวม 283 แห่ง  โดยมีแหล่งของวัตถุดิบแตกต่างกันขึ้นกับวิถีชีวิตของชุมชนนั้นๆ   แต่อยู่ภายใต้แนวคิดเดียวกัน คือ เป็นชุมชนที่นำ biomass      ที่มีอยู่ในชุมชนไม่ว่าจะเกิดจากกิจกรรมใดๆ   มาใช้ประโยชน์สร้างพลังงานทดแทน หรือนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ๆ หมุนเวียนใช้ในชุมชน หรือจำหน่ายออกไปนอกชุมชน เป็นกระบวนการที่พยายามไม่ให้มีของเสียเกิดขึ้นในชุมชน หรือ Zero Waste
นั่นเอง

ตัวอย่างของเมืองชีวมวลที่รัฐบาลญี่ปุ่นผลักดัน จนกระทั่งเป็นตัวอย่างให้กับหลายๆ เมืองที่กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการมีหลายเมืองด้วยกัน
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเป็นบางเมือง   เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบว่าการสร้างเมืองชีวมวลสามารถทำได้จริง และต้องเป็นตัวจริงเท่านั้นจึงจะประสบ
ความสำเร็จ 

 

Motegi  Biomass Town  โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ที่เมือง Motegi เขต Tochigi  เป็นการใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ เศษใบไม้ แกลบ เศษ- อาหาร และขี้เลื่อย เพื่อผลิตปุ๋ยหมักจำหน่ายให้กับชุมชน และบุคคลทั่วไป โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโครงสร้างโรงงาน และเครื่องจักรจากเทศบาลเมือง เทศบาลท้องถี่น และรัฐบาลกลาง  ภายใต้แนวคิดการใช้ประโยชน์จาก biomass ที่มีอยู่ในชุมชนเป็นหลัก

 

โครงการดังกล่าวนับว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่เมื่อคิดกำไรขาดทุนในเชิงธุรกิจแล้ว โครงการดังกล่าวยังขาดทุนอยู่มาก แต่หากคิดผลรวมที่เกิดต่อชุมชนจะเห็นได้ว่าปริมาณขยะในชุมชนลดลง  รัฐบาลเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะน้อยลง รวมทั้งสุขภาพของผู้คนในชุมชนดีขึ้น  เนื่องจากได้บริโภคอาหารที่มีคุณภาพ ไม่มีสารเคมีตกค้าง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลดน้อยลงไปด้วย

 

 


            เศษไม้ หนึ่งในวัตถุดิบ                 บ่อหมักปุ๋ยของ Motegi Biomass Town         เศษผัก-ผลไม้จาก Supermarket ในชุมชน

 

 

         Yamada biomass plant โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ที่เมือง Katori เขต Chiba ใน Wago Recycle Center  ซึ่งเป็นของสหกรณ์ผู้ผลิตสินค้าเกษตร Wagoen  เป็นโครงการที่ MAFF   สนับสนุนเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ และเศษเหลือของผลิตผลทางการเกษตร  โดยเฉพาะเศษผัก และผลไม้จาก supermarket รวมถึงการทำปุ๋ยน้ำหมัก   ภายใต้แนวคิดการใช้ประโยชน์จาก Biomass ในพื้นที่ และสร้างระบบการผลิตทางการเกษตรให้เป็น Zero Waste    ซึ่งวัตถุดิบในการผลิตเหล่านี้รวบรวมมาจากสมาชิกของ Wagoen  และจากแหล่งอื่นๆ ในบริเวณใกล้เคียง     เป็นโครงการที่ช่วยกำจัดมูลสัตว์ และขยะเปียกภายในชุมชนได้เป็นอย่างดี

 

Kasai City   ตั้งอยู่ในเขต Hyogo  ชุมชนดังกล่าวได้นำน้ำมันจาก rapeseed  มาผลิตเป็น bio diesel fuel   เพื่อใช้กับรถไฟที่วิ่งอยู่ในเขตเมือง Kasai จึงนับว่าเป็นโครงการที่เป็นสัญลักษณ์ของการใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบในชุมชนให้หมุนเวียนอยู่ในชุมชนได้เป็นอย่างดี 

 

 

Ie Village  ตั้งอยู่ที่เกาะ Okinawa    เป็นชุมชนเกษตรกรรมที่ปลูกอ้อยเป็นพืชหลัก   ดังนั้นชุมชนดังกล่าวจึงได้นำอ้อยมาเป็นวัตถุดิบผลิตเอทานอล เพื่อนำมาผลิตเป็นพลังงานต่อไป 

 

ท่านผู้อ่านคงเห็นได้ว่า  แนวคิดการใช้พลังงานชีวมวลแบบญี่ปุ่นไม่ได้เริ่มจากแนวคิดที่อยู่นอกเหนือผลิตผลที่มีอยู่ในชุมชนนั้นๆ แต่อย่างใด หากแต่เป็นการศึกษาชุมชนนั้นว่ามีสิ่งใดที่เป็น Biomass ได้ แล้วจึงนำเจ้าสิ่งนั้นมาพัฒนาและวิจัยต่อยอดขึ้นไปเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

 

ในที่สุดแล้ว  ภาพแห่งอนาคตที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการเห็น คือ การเกิดขึ้นของ Smart Village  หรือ หมู่บ้านสามารถ (ศัพท์ของผู้เขียนเอง)  หมู่บ้านที่มีการใช้ประโยชน์จาก biomass ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนนั้นๆ เช่น การนำเศษไม้มาทำเป็นก้อนเชื้อเพลิง  เม็ดพลาสติก การผลิต biogas จากระบบฟาร์ม การใช้พลังงานน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก การใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์และการผลิตพลังงานจากพลังงานลมเป็นต้น

 

พลังงานต่างๆ ที่ผลิตได้เหล่านี้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จาก biomass จะย้อนเข้าสู่ชุมชน   เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตของชุมชนเป็นวัฏจักรหมุนเวียนกันไป  ผู้คนในชุมชนและอุตสาหกรรมในท้องถิ่นสามารถอยู่ได้ พึ่งพาตนเองได้

 

 

 


Eco-car ของ Yamada Biomass Town

 

 

         

 

หากพลังานหรือผลิตภัณฑ์จาก biomass  ที่ชุมชนผลิตได้มีปริมาณมากเกินความต้องการภายใน  สามารถที่จะจำหน่ายผ่านระบบเข้าสู่สังคม
เมืองหรือชุมชนอื่นๆ และที่สุดแล้วการสร้าง biomass town ดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือโลกใบนี้ไม่ให้ร้อนขึ้นมากเกินไปนั่นเอง

 

ดังนั้น  เมืองชีวมวล   จึงเป็นการสร้างเมืองที่สามารถพึ่งพาพลังงานของตนเอง      และเป็นพลังงานชนิดที่สร้างขึ้นมาทดแทนได้ รวมทั้งเป็นการสร้างงาน และสร้างอุตสาหรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในชุมชน  รวมทั้งการสร้างชุมชนเขตชนบทให้เป็นชุมชนที่เป็นอิสระทางพลังงาน

 

แนวคิดเรื่อง biomass town ดังกล่าว ได้เผยแพร่เข้ามาสู่ประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว    ผ่านทางความร่วมมือระหว่าง MAFF กับ
กรมวิชาการเกษตร     โดยมีการสร้างเมืองชีวมวลขึ้นมาเมื่อต้นปีที่ผ่านมา     ณ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

 

โครงการดังกล่าวในส่วนของกรมวิชาการเกษตรมีผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตพืช ดร.สมเจตน์ ประทุมมินทร์ เป็นผู้ประสานงานโครงการ     ผลสำเร็จของโครงการเป็นอย่างไรคงได้เห็นกันในไม่ช้า หากมีโอกาสผู้เขียนจะได้นำเรื่องราวของ biomass town   ในเมืองไทยมาเล่าสู่กันฟังจะได้เห็นกันว่าแบบซามูไรญี่ปุ่นกับแบบกระบี่กระบองของเราเป็นเช่นไร

 

 

 

(ขอบคุณ: Mr.Masamichi Saigo,Mr.Yoshiyasu Kamijo ,Environment and Biomass Policy Division, MAF/ข้อมูล:)

 

 

 

 

 

     พบกันใหม่ฉบับหน้า..........สวัสดี
อังคณา   
 

 

 

คำถามฉีกซอง
กองบรรณาธิการจดหมายข่าวผลิใบฯ กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กรุงเทพฯ 10900  e-mail : asuwannakoot@hotmail.com

 

 




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com