ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน

 .....................................

จาก Http://www.manager.co.th

iTAP ชูเกษตรอินทรีย์ลดต้นทุนเกษตรกร ดึงนักวิชาการเทคโนฯชีวภาพ มทส. นำความรู้สู่ชุมชนฟื้นระบบเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ช่วยลดต้นทุน ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง หวังให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ 
       
       ปัจจุบันกระแสการคำนึงถึงสุขภาพ พิษภัยของสารเคมีทางการเกษตรทำให้ทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค สภาพแวดล้อม และสังคมเริ่มตระหนักถึงภัยใกล้ตัวจากการอุปโภค-บริโภคผลผลิตเหล่านี้เพิ่มขึ้น ระบบผลิตที่ไร้สารพิษ จึงกลับมาเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ซึ่งเป็นแนวทางการผลิตพืชและสัตว์เพื่อการบริโภคหรือการค้าซึ่งใช้ปัจจัยการผลิตที่ได้มาจากธรรมชาติล้วนๆ เช่น ใช้ปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชที่ได้มาจากวัสดุธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ งดใช้ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช เป็นต้น แต่แนวทางเหล่านี้อาจทำไม่ง่ายเลยตามความเคยชินในระบบเกษตรกรรมเพื่อการค้า อีกทั้งต้องใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยวางรากฐาน
       
       ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์จาก โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) ซึ่งได้สานต่องานด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเข้าไปดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา และให้คำปรึกษาแนะนำในโครงการ ความเป็นไปได้ในการผลิตผักและผลไม้ให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสหกรณ์ เพื่อทำระบบบริหารจัดการเครือข่ายการผลิตผักของเกษตรกร ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ นำไปสู่การพึ่งพาตนเองในที่สุด

ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด
       ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร กล่าวว่า สำหรับโครงการนี้ได้เข้าไปให้คำแนะนำแก่เกษตรกรผ่านสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง จำกัด จ.นครราชสีมาโดยสมาชิกของสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชหลายๆชนิดทั้ง ข้าว ผัก ผลไม้ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีรายใดทำเกษตรอินทรีย์
       
       “เนื่องจากการทำเกษตรอินทรีย์ต้องใช้ความรู้หลายด้าน ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี อีกทั้งปัจจัยหลักของการทำเกษตรคือ ปุ๋ย แต่การทำเกษตรอินทรีย์จะไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตอื่นมาทดแทนสิ่งเหล่านี้ การทำเกษตรกรรมจึงมีต้นทุนสำคัญได้แก่ ปุ๋ย และหากเป็นการทำเกษตรอินทรีย์นั้นจำเป็นต้องมีการผลิตปุ๋ยจากธรรมชาติขึ้นมาใช้เอง จึงให้เกษตรกรเริ่มต้นด้วย การเลี้ยงสุกร เพื่อนำมูลใช้เป็นปุ๋ยให้กับพืชได้โดยตรง ส่วนที่เหลือสามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก(สร้างคอกสุกรบนบ่อแก๊ส)และยังมีผลพลอยได้คือ ไบโอแก๊สเป็นพลังงานหุงต้ม หรือแนะนำให้เกษตรกรทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุอย่างพืชชนิดต่างๆมาผสมกับมูลสัตว์ ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี” นักวิชาการอาวุโส กล่าว
       
       การผลิตปุ๋ยอีกชนิดได้แก่ “การเพาะเลี้ยงแหนแดง (>> การใช้แหนแดงในนาข้าว <<)” (ชมวิดีโอการเพาะเลี้ยงแหนแดง) เพื่อนำมาใช้เป็นปุ๋ยและอาหารสัตว์ เนื่องจากแหนแดงเป็นพืชตระกูลเฟิร์นมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอยู่ในโพรงใบและมีความสามารถในการตรึงไนโตรเจนในอากาศจึงไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน นอกจากนี้แหนแดงยังมีโปรตีนสูง 25-30% และมีแคโรทีนประมาณ 360 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 1 กิโลกรัม จึงเหมาะสำหรับการเป็นอาหารสัตว์เมื่อนำไปเลี้ยงเป็ดจะทำให้ได้ไข่สีแดงและมีวิตามินเอสูง อีกทั้งแหนแดงยังช่วยกำจัดวัชพืชในนาข้าวเมื่อแหนแดงขึ้นเต็มพื้นที่ระหว่างต้นข้าวจะทำให้ไม่เจริญเติบโตเนื่องจากขาดแสงแดด
       
       ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร กล่าวต่อไปว่า ปกติเกษตรกรเสียค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยเป็นต้นทุนสูงมาก เมื่อสามารถผลิตปุ๋ยขึ้นใช้เอง ต้นทุนในการทำเกษตรจึงไม่มี
       
       “หากสามารถผลิตปุ๋ยเองได้จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไม่พึ่งปัจจัยภายนอก แม้ปุ๋ยมีราคาสูงขึ้น ในขณะที่ผลผลิตทางการเกษตรคงที่ หรือลดลง เช่น ในอดีตลองกองจำหน่ายกิโลกรัมละ 90 บาทขณะนี้เหลือเพียง 20 บาท เกษตรกรก็แย่แบกรับต้นทุนไม่ไหว และจะทำอย่างไรให้ลดต้นทุน เรียนรู้ว่าสามารถผลิตปุ๋ยเองได้ การทำเกษตรอินทรีย์จึงสอนวิธีทำปุ๋ย วิธีการที่จะอยู่อย่างพอเพียง ค่อยๆศึกษาหาความรู้ไปกลายเป็นระบบเกษตรที่ยั่งยืน”

       นอกจากปุ๋ยจะเป็นต้นทุนสำคัญแล้ว ยาฆ่าแมลงหรือสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆก็เป็นต้นทุนสำคัญหนึ่ง แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์มีวิธีการทดแทนสารเคมีเหล่านี้ได้จากธรรมชาติ เช่น แนะนำให้เกษตรกรเลี้ยงเป็ดและไก่ผสมผสานในการทำเกษตรกรรม
       
       “การเลี้ยงเป็ดและไก่นอกจากจะให้ปุ๋ยจากมูลสัตว์เหล่านี้แล้ว ยังช่วยกำจัดแมลง โดยเฉพาะในนาข้าวที่มีปัญหาหอยเชอร์รี่ เกษตรกรต้องใช้สารเคมีกำจัดปูหรือหอยเชอร์รี่ที่มากินต้นข้าว แต่หากปล่อยเป็ดไว้ในนาข้าวก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาสารเคมี”และยังแนะนำให้มีการปลูกพืชผักแบบผสมผสานเลียนแบบธรรมชาติ หรือควบคุมศัตรูพืชด้วยสมุนไพร เช่น ปลูกสะเดาเพื่อใช้เป็นสารฆ่าแมลงและกระเพราเพื่อล่อแมลงวันทองไม่ให้ไปเกาะผลไม้ เป็นต้น
 ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร กล่าว
       
       นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญเกษตรอินทรีย์ iTAP ยังมีงานวิจัย การใช้แหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพในระบบข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต ซึ่งเป็นการนำแหนแดงและปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมาใช้เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการปลูกข้าวที่ใช้น้ำน้อย(ระดับน้ำประมาณ 2-5 เซนติเมตร)
       
       จุดเด่นของการปลูกข้าวต้นเดี่ยวฯ เช่น ใช้เมล็ดพันธุ์น้อยเพียงอัตรา 1 กิโลกรัม/ไร่ (ปกติใช้ 5-15กิโลกรัม/ไร่) สามารถลดต้นทุนการผลิตจากการใช้ปุ๋ยเคมีมาใช้แหนแดงแทนและเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดินจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพและแหนแดง นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกข้าวที่ประหยัดน้ำและสามารถกำจัดวัชพืชได้ง่ายทั่วถึงและได้ปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 50-70% เป็นต้น โดยยังได้นำงานวิจัยดังกล่าวมาใช้ในโครงการความเป็นไปได้ในการผลิตผักและผลไม้ให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในระดับสหกรณ์ ข้างต้นนี้อีกด้วย
       
       ผลของโครงการดังกล่าวยังสร้างเครือข่ายเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการผลิตผักที่มีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ออกจำหน่าย โดยมีสหกรณ์เป็นศูนย์กลางในการจำหน่าย นอกจากนี้ยังได้ต้นแบบ “นายอ่างโมเดล iTAP : ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ สหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง” ซึ่งเป็นผลมาจากการแนะนำการทำเกษตรอินทรีย์ให้แก่ นายอ่าง เทียมสำโรง เกษตรกรตัวอย่าง ต.บ่อปลาทอง อ.ปักธงชัย ที่เข้าร่วมโครงการจนประสบความสำเร็จ โดยเกษตรกรต้นแบบสามารถนำความรู้ที่ได้ทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร เช่น ปลูกผักอินทรีย์ ปลูกข้าวระบบต้นเดี่ยว เลี้ยงสุกร ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ตลอดจนทำไบโอแก๊สขนาดระดับครัวเรือน นอกจากนี้ยังได้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นโดยใช้ระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวจากเดิม 400-500 กิโลกรัมต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็น 830 กิโลกรัมต่อไร่ และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายผักอินทรีย์ 12,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งยังมีรายได้จากการเลี้ยงสุกร 5 ตัว 10,000 บาทในเวลาเพียง 6 เดือนและเกิดเป็น “ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์”เพื่อให้เกษตรกรและคนทั่วไปเข้ามาศึกษาดูงานอีกด้วย

       ผลงานของ ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร ยังมีส่วนผลักดันและเป็นแรงบันดาลใจให้กับเกษตรกรหันมาให้ความสำคัญในการทำ “เกษตรอินทรีย์” โดยเริ่มต้นจากการทำบ่อไบโอแก๊สเพื่อบำบัดของเสีย นำไปสู่การผลิตปุ๋ยและมีผลพลอยได้คือแก๊สหุงต้ม ทำให้มีสมาชิกสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิงเห็นตัวอย่างความสำเร็จและต้องการเข้าร่วมโครงการเพิ่มมากขึ้น
       
       “ปัญหาของการทำเกษตรอินทรีย์ คือ การขาดองค์ความรู้ที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น การผลิตปุ๋ยใช้เอง การนำพืชธรรมชาติทดแทนสารเคมี ระบบกำจัดของเสียที่ครบวงจรและนำไปใช้ประโยชน์ได้ หรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อกำจัดวัชพืช ฯลฯ คาดหวังว่าต้นแบบข้างต้นจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้เกษตรกรรายอื่นหันมาให้ความสนใจ ตัวอย่างต่างประเทศเช่นที่ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการทำเกษตรอินทรีย์มานานและมีหน่วยงานรับรองตรวจสอบสารพิษ ยิ่งเป็นผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์จะมีราคาสูงแม้ผลิตภัณฑ์มีรอยแมลงกัดแทะ ซึ่งขณะนี้ในยุโรปก็เริ่มอนุโลมเรื่องความสวยงามของผลผลิตจากเกษตรอินทรีย์ และให้ความสำคัญกับสุขภาพเพิ่มมากขึ้น”
       
       การทำเกษตรอินทรีย์ ยังมีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถมีรายได้และประกอบอาชีพอยู่ภายในครัวเรือน ลดการอพยพเข้าเมืองและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งได้บริโภคอาหารสุขภาพทำให้มีร่างกายแข็งแรง และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
       
       ปัจจุบันแม้ ศ.เกียรติคุณ ดร.นันทกร บุญเกิด เกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ยังคงเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอกด้านเกษตรอินทรีย์ ทำงานวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกข้าวต้นเดี่ยวแบบประณีต นอกจากนี้ยังเป็นผู้เชี่ยวชาญ iTAP คอยแนะนำเกษตรกรในด้านต่างๆ อาทิ ระบบจัดการไร่ การทำไบโอแก๊ส ตลอดจนยังคงทำงานทดลองและวิจัยด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง  

 




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com