ReadyPlanet.com
dot
dot
อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
dot
โคมคาดหน้าผาก
หน้าโคม head lamp
dot
ตาข่ายต่างๆ
dot
ตาข่ายเซฟตี้ Safety Net
งานอเนกประสงค์
nylon net
สนามกีฬา / sport court
กันนก / ล้อมพื้นที่ anti-bird net
dot
ด้าย / เคมี cotton
dot
ด้าย เชือกฝ้าย
สี
dot
dot
กระชัง อวนลาก cage
แห
อุปกรณ์ สำเร็จรูป
คลุมรถ เปล hammock
dot
เชือก
dot
เชือก
ไนล่อน
งานฝีมือ
dot
ดำนา
dot
ดำนา
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
เบ็ดตกปลา fishing hook
dot
โรงเรือน green house
dot


เฟสบุค
คลิก เพิ่มเพื่อนทาง ไลน์
บีดีนิต
หอพักสตรีพิมพ์ทอง


หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ

ที่มา: จดหมายข่าวผลิใบ ก้าวใหม่การวิจัยและพัฒนาการเกษตร

หันมาปลูกพืช ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งกันเถอะ

          ผู้อ่านหลายๆ  ท่านคงได้รับทราบข่าวตามสื่อต่าง ๆ   เกี่ยวกับภาวะภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเราอยู่ในขณะนี้ว่า น้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศมีปริมาณลดน้อยลงกว่าทุก ๆ ปี  ส่งผลกระทบถึงเกษตรกรที่กำลังเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร  ในช่วงฤดูแล้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้    

 

เมื่อเกิดภาวะเช่นนี้    การที่จะให้เกษตรกรผู้ปลูกพืชต่าง ๆ    หยุดการปลูกพืชเพื่อเป็นการประหยัดน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดก็คงจะเป็นไปไม่ได้ กรมวิชาการเกษตรจึงมีข้อแนะนำในการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้งนี้  เพื่อให้การปลูกพืชผลทางการเกษตรยังคงเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรในภาพรวม ที่ผ่านมาเนื่องจากข้าวมีราคาอยู่ในเกณฑ์สูง ประกอบกับรัฐบาลได้จัดทำโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำนาปรังมากขึ้นในช่วงเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2552/53 นี้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังประมาณ  9.50 ล้านไร่  แยกเป็น ในเขตชลประทาน 7.50 ล้านไร่  และนอกเขตชลประทาน 2 ล้านไร่ 
ซึ่งหลายพื้นที่ได้เกิดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเพาะปลูก  เพราะการปลูกข้าวหนึ่งรอบการผลิตต้องใช้น้ำปริมาณมาก  ทำให้น้ำไม่พอเพียงกับความต้องการ   เป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนที่กำลังถูกจับตา กระทรวงเกษตรฯ   จึงเร่งให้ความรู้ในการงดปลูกข้าวนาปรังรอบ 2   และให้ปลูกพืชไร่-ผักที่มีช่องทางการตลาดดีทดแทน

นายสมชาย  ชาญณรงค์กุล   อธิบดีกรมวิชาการเกษตร    กล่าวว่า หลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังรอบที่ 1 แล้ว  เกษตรกรควรพักดินและงดทำนาปรังรอบ 2  และควรปลูกพืชชนิดอื่นที่มีลู่ทางการตลาดดีทดแทนข้าวนาปรัง   เช่น ถั่วเหลือง  ถั่วเขียว  และถั่วลิสง ซึ่งมีแนวโน้มราคาอยู่ในเกณฑ์ด นอกจากเป็นพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น และใช้น้ำน้อยที่สามารถช่วยประหยัดน้ำ   และลดปัญหาการแย่งชิงน้ำเพื่อการเกษตรแล้ว   ยังช่วยตัดวงจรปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้อีกทางหนึ่งด้วย     เกษตรกรควรจัดระบบการปลูกพืชในนาข้าวใหม่   โดยปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับการทำนาปี-นาปรัง  เช่น ปลูกถั่วเหลืองหลังนา   สามารถที่จะช่วยปรับโครงสร้างดินให้สมบูรณ์ขึ้นได้   ถ้าไถกลบต้นถั่วเหลืองลงดินจะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ได้จากการสลายตัวของถั่วเหลือง 7 กก.ไนโตรเจน / ไร่   คิดเป็นปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 15 กก. / ไร่        หรือไนโตรเจนในปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรท(21-0-0) 34 กก./ไร่  เมื่อกลับไปปลูกข้าว  เกษตรกรไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยไนโตรเจนอีกเลย คาดว่าจะสามารถจะช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยไนโตรเจนในนาข้าวทั้งประเทศได้ปีละกว่า  4,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตถั่วเหลือง และมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตข้าว  คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 12,032 ล้านบาท  นอกจากถั่วเหลืองแล้ว อาจปลูกถั่วเขียวหรือถั่วลิสง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับผลตอบแทนใกล้เคียงกัน และที่สำคัญยังได้ปรับปรุงโครงสร้างดินในแปลงนาไปในตัวด้วย

นายเทวา เมาลานนท์  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชไร่  กรมวิชาการเกษตร  แนะนำว่า การเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูแล้ง เกษตรกรควรคำนึงถึงปริมาณน้ำต้นทุนที่จะหล่อเลี้ยงพื้นที่เพาะปลูกว่ามีเพียงพอหรือไม่  เพราะน้ำถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อระบบการผลิต  หากปริมาณน้ำไม่เพียงพอเกษตรกรไม่ควรทำนาปรังแต่ควรปลูกพืชอายุสั้นและใช้น้ำน้อยแทน โดยเลือกปลูกพืชไร่ที่มีราคาดี เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และถั่วเขียว ซึ่งจะใช้น้ำประมาณ 400-600 ลบ.ม./ไร่/รอบการผลิต ทั้งยังต้องมองถึงช่องทางตลาดด้วยว่า  พืชชนิดใดที่ตลาดมีความต้องการมาก เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน   นอกจากนี้เกษตรกรต้องมีวิธีการเขตกรรมและจัดการแปลงอย่างถูกต้องและเหมาะสม   เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตั้งแต่เตรียมดิน
โดยเฉพาะนาในเขตชลประทานที่มีสภาพค่อนข้างเป็นดินเหนียว  ต้องคำนึงถึงความชื้นที่เหมาะสม  ขณะเดียวกันยังต้องเลือกใช้เมล็ดพันธุ์พืชพันธุ์ดีที่มีคุณภาพ ให้ผลผลิตสูงและเหมาะกับสภาพพื้นที่  ซึ่งปัจจุบันกรมวิชาการเกษตรได้มีพันธุ์พืชรับรองเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกร อาทิ ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่60  เชียงใหม่2  เชียงใหม่5  นครสวรรค์1  พันธุ์ขอนแก่น ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท72 กำแพงแสน1 กำแพงแสน2 และพันธุ์ชัยนาท36 ถั่วลิสงพันธุ์ขอนแก่น6  ขอนแก่น 5  พันธุ์กาฬสินธุ์ 1 และกาฬสินธุ์2 เป็นต้น

เกษตรกรต้องมีการกำจัดวัชพืชในแปลงให้ทันเวลาและสม่ำเสมอ   พร้อมป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วย  สำหรับโรคและแมลงศัตรูพืชสำคัญของถั่วเขียวและถั่วเหลือง  ได้แก่ หนอนแมลงวันเจาะลำต้น  แมลงหวี่ขาว และโรคราสนิม  ส่วนศัตรูพืของถั่วลิสง    ได้แก่  เสี้ยนดิน  อีกทั้งยังต้องมีการให้ปุ๋ยอย่างถูกต้องเหมาะสม และตรงตามความต้องการของพืช  โดยใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน  ซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตได้
ค่อนข้างมาก    

 

การให้น้ำเป็นเรื่องสำคัญมาก  เกษตรกรควรคำนึงถึงความต้องการของพืช   ในช่วงอุณหภูมิสูงไม่ควรให้ขาดน้ำจนพืชเหี่ยวเฉา เพื่อให้การปลูกถั่วเหลืองและถั่วเขียวได้ผลผลิตดี ควรให้น้ำทุก 10-14 วัน  พยายามอย่าให้ขาดน้ำ โดยเฉพาะระยะที่พืชออกดอกติดฝักไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ดอกร่วงไม่ติดฝัก  ส่งผลให้ได้ผลผลิตลดลงและเสียหายได้ ส่วนถั่วลิสงควรให้น้ำเมื่อความชื้นในดินลดลง   หรือสังเกตต้นถั่วเมื่อใบเริ่มเหี่ยวในตอนกลางวัน  การให้น้ำควรมีช่วงห่างระยะ10-15 วัน/ครั้ง ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นแนวทางช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตพืชฤดูแล้งหลังนาได้

          เมื่อเกษตรกร ทราบถึงรายละเอียดในการปลูกพืชใช้น้ำน้อยในฤดูแล้งเช่นนี้แล้ว   กรมวิชาการเกษตร หวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชที่มีความเหมาะสมในช่วงฤดูแล้งนี้และยังเป็นการช่วยในเรื่องของปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อกลับไปปลูกข้าวในฤดูการที่กำลังจะมาถึง และยังเป็นการช่วยให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประการสำคัญยังช่วยในการป้องกันโรคแมลงที่จะเกิดขึ้นกับการเพาะปลูกพืชได้อีกด้วย




เรื่องน่ารู้

ภาชนะจากกาบหมาก
ปลูกผักบนต้นกล้วย
กล้วยตกเครือกลางลำต้น
เมืองเกษตรสีเขียว (Green City)
อนาคตของเกษตรกรรม
อนาคตของเกษตรกรรม 1
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 3
การทำไร่บนตึกสูง ตอนที่ 2
Vertical Farm - ทำไร่บนตึกสูง (ตอนที่ 1)
สบู่จากถ่านไม้ไผ่
ภาชนะทำจากแป้งทดแทนพลาสติกเพิ่มมูลค่าพืชศก.-ผลิตภาชนะลดปริมาณขยะพลาสติกลดโลกร้อน
ฮอนด้าเผยโฉมบ้านพลังงานอัจฉริยะฮอนด้า พร้อมเดินหน้าทดสอบเทคโนโลยีการจัดการพลังงานภายในบ้าน และในชุมชนแบบองค์รวม
เห็ดโลกยิ้ม
อาหาร 8 ชนิดที่เราอาจไม่ได้กินอีกต่อไป
แบตเตอรี่กระดาษจากสาหร่าย
น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว
กำมะถัน
จากสารรักษาสภาพน้ำยางสู่สีบอดี้เพนท์
โรงไฟฟ้าราชบุรีนำร่อง ผัน CO2 เลี้ยงสาหร่ายผลิตไบโอดีเซล
มหัศจรรย์พันผูก
หม้อยา 200 ล้าน ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร
ชีวมวล
การฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มที่มีศักยภาพในการเพาะปลูกน้อย ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสามารถในการเพาะปลูกอีกครั้ง
เกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืน ฟื้นชุมชน
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ผ้าย้อมคราม .. ภูมิปัญญาที่มากกว่าผ้าสีคราม
เกษตรกรรมปลอดพิษ ชีวิตปลอดภัย
เกษตรปราณีต 1 ไร่ไม่ยากจน
เรื่องผักๆและการจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ฉบับชาวบ้าน
ชันป่น
วว. วิจัยพัฒนาน้ำนมถั่วชิกพีพร้อมดื่มระบุโปรตีนสูง แถมไขมันต่ำ
สารสกัดจากใบบัวบก/ตะำไคร้ ป้ิองกันมะเร็งสำไส้ใหญ่
การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดปลวก
การศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการป้องกันการสูญเสียของข้าว
แบตเตอรี่ article



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

BDcountrylife.com
ที่อยู่ :  เลขที่ 254/2 ถ.โพศรี อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
เบอร์โทร :042-221412 FAX: 042-246276 มือถือ :089-4224341
อีเมล : sillawata@gmail.com
เว็บไซต์ : www.bdcountrylife.com